‘ชัชชาติ’ เตรียมแถลงเปิดสัญญารถไฟฟ้าสีเขียว ยอมรับซับซ้อนเพราะต้องจ้างเดินรถถึงปี 2585 พร้อมเสริมรถเมล์ช่วยคนกรุง เผยงบลงทุนปี 2566 แค่พันล้าน เพราะวางงบผูกพันไว้เพียบ

วันที่ 22 มิ.ย. 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเสวนา “สู่โอกาสใหม่ Stronger Thailand” ในหัวข้อ “Stronger Bangkok ; Stronger Thailand” ว่า อยากจะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารประเทศกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ทั้งเรื่องของฝุ่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ผลเร็วๆ ต้องทำเป็นรูปธรรม อาทิ การปลูกต้นไม้เพื่ออากาศบริสุทธิ์ถือเป็นพื้นฐาน ปัญหา PM 2.5 เป็นปัญหาเรื้อรัง วิธีการคือ ปัจจุบันไม่มีข้อมูลที่แท้จริง ไม่มีการทำวิจัยต่อเนื่อง

สู่โอกาสใหม่

ส่วนงบประมาณปี 2566 ที่ทำมาแล้ว ต้องมาจัดกรอบและเข้า สก. และขึ้นเว็บไซต์ โดยมีงบประมาณรวม 7.9 หมื่นล้านบาท งบลงทุนใหม่มีประมาณ 1.6 พันล้านบาท และงบลงทุน 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท เป็นงบผูกพันเยอะ ต่อเนื่องหลายปี ไม่สามารถเริ่มโครงการใหม่ได้ ปีแรกอาจเสนองบ 1 ล้านบาท และไปปล่องเป็น 100 ล้าน 1,000 ล้านบาท ภายหลัง เป็นการจองงบ ปีหน้างบผูกพัน 2 หมื่นล้านถูกจองไว้แล้ว และอีก 5 พันล้านจ่ายหนี้ที่ 2 ปีที่แล้ว ทำให้การบริหารจัดการแปลกๆต้องเข้าไปปรับปรุง งบบุคลากรก็เกือบ 40% งบลงทุนเลยไม่เยอะ

ส่วนปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาใหญ่ เอกสารเยอะ มีความซับซ้อนอยู่ สายสีเขียวมี 3 ส่วนมีไข่แดงตรงกลาง เพราะสัญญาเดิมที่เอกชนได้ไปหมดปี 2572 และทุกอย่างต้องกลับมาเป็นของกทม. ในขณะที่ส่วนต่อขยาย 1 ที่กทม.ลงทุนไป (อ่อนนุช-ตากสิน) และส่วนต่อขยาย 2 (คูคต-ปากน้ำ)ที่กทม.รับหนี้มาแล้วเดินรถไฟฟ้าฟรี ซึ่งต้องจ้างเอกชนเดินรถและเป็นหนี้หลายพันล้านบาท

สีเขียว

โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะหากปี 2572 สัมปทานหมดแทนที่จะได้ทั้งหมดกลับคืนมา เช่นส่วนต่อขยาย 1 และ 2 ที่กทม.ลงทุน ปรากฏว่าต้องจ้างเดินรถไปถึงปี 2585 ซึ่งแม้ว่ารายได้เป็นของกทม. แต่ก็ต้องจ่ายเงินเงินค่าเดินรถอยู่ดี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่ากทม.จะจ้างแพงแค่ไหน และหากจ้างแพงก็ต้องเก็บเงินผู้โดยสารไม่ให้ขาดทุน จึงต้องดูว่าสัญญาเป็นธรรมแค่ไหน ยอมรับว่ากระทบหลายส่วนและกำลังดูอยู่

ผู้ว่าฯชัชชาติ

ต้องพิจารณาสัญญา เพราะมันส่งผลกระทบหลายส่วน ต้องดูด้วยความรอบคอบโดยต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้งและยุติธรรมกับประชาชนรวมถึงคู่สัญญาด้วย ซึ่งจะมีแถลงในเร็วๆนี้

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของคนกทม. ที่สำคัญอีกจุดคือ รถเมล์จริงๆกทม. ก็สามารถเดินรถเมล์ได้แต่ก่อน แต่เมื่อโอนอำนาจไว้ที่การขอใบอนุญาตกับกรมขนส่งทางบกทั้งหมด ดังนั้น นโยบายเราจะเดินรถเสริมเป็นบางจุดในราคาที่เหมาะสม อาจจะเสริมเป็นแนวเส้นเลือดฝอย เช่นแนวทางเชื่อมแถวเส้นร่มเกล้าที่ไม่มีรถเมล์วิ่งหรือถนนราชพฤกษ์ เป็นต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน