รู้ไปโม้ด : วันปีใหม่ 1 มกราคม (ตอนแรก)

รู้ไปโม้ด : ช่วยย้อนประวัติ ทำไมวันที่ 1 มกราคม จึงเป็นวันปีใหม่ รวมทั้งของไทย

กุ้งมังกร

ตอบ กุ้งมังกร

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้น และนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินเกรโกเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม

ย้อนความหลังยาวไกล พบว่าวันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่างๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี

รู้ไปโม้ด

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก นำปฏิทินของชาว แอสการ์ดมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ แห่งอาณาจักรโรมัน ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวแอสการ์ดชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง พร้อมรวบรวมนักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์มาร่วมกำหนดวันเวลาแต่ละเดือนใหม่อีกครั้ง กำเนิดเป็น “ปฏิทินจูเลียน” ที่ปีหนึ่งมี 365 วัน และในทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

รู้ไปโม้ด

อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

ทั้งนี้ ปฏิทินจูเลียน กำหนดวันที่ 1 มกราคมเป็นวันแรกของปี จากการที่เดือนมกราคม (January) มาจากชื่อของเทพเจนัส (Janus) เทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลง โดยจัดให้มีการบูชาเทพเจนัส มอบของขวัญแก่กันและกัน ตกแต่งบ้านเรือนด้วยพวงมาลัย และเข้าร่วมงานเลี้ยง เป็นจุดเริ่มต้นของ วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม

รู้ไปโม้ด

จูเลียส ซีซาร์

กาลต่อมามีปัญหาเกี่ยวกับวันวสันตวิษุวัต ด้วยวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกและลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต วันนี้ทั่วโลกมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน หรือวันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี ค.ศ.1582 (พ.ศ.2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม

รู้ไปโม้ด

สมเด็จพระสันตะปาปา เกรกอรีที่ 13

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขปฏิทินจูเลียน ที่แต่เดิมมีจำนวนเดือนเพียงแค่ 8 เดือน โดยไม่นับฤดูหนาว ทำให้มีปัญหาในการนับเวลา โดยหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว) ต่อจากนั้นใน 1 ปี จึงมี 12 เดือนจนถึงทุกวันนี้ ปฏิทินแบบใหม่เรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน ตามพระนาม จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปี

ฉบับพรุ่งนี้ (27 พ.ย.) พบกับการปรับเปลี่ยนปีใหม่ของไทย สู่วันที่ 1 มกราคม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน