ครูศิลป์-ครูช่าง-ทายาท ศิลปหัตถกรรมปี 2562

ศิลปหัตถกรรมปี 2562 – ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรมประจำปี 2562 เพื่ออนุรักษ์ รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่าง สมบัติอันมีค่าไม่ให้สูญหายไป

ศิลปหัตถกรรมปี 2562

คุณยายทองอยู่และผ้าซิ่นตีนจก

ศิลปหัตถกรรมปี 2562

คุณยายทองอยู่ กำลังหาญ อายุ 88 ปี คลุกคลีในงานศิลปหัตถกรรมผ้าซิ่นมายาวนานถึง 68 ปี หนึ่งในผู้ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูศิลป์ของแผ่นดินประจำปี 2562 ประเภทเครื่องทอ (ผ้าซิ่นตีนจก ไทยวนคูบัว จังหวัดราชบุรี) เล่าว่าเมื่ออายุ 14 ปี เริ่มเรียนรู้การทอผ้าจากคุณแม่ (คุณยายซ้อน กำลังหาญ) เพื่อใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน มีการทอด้ายแบบง่ายๆ ไม่ได้มีลวดลายอะไร กระทั่งเกิดแรงบันดาลใจที่เป็นความทรงจำอันล้ำค่าในวัยเด็ก มีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ตามคุณแม่ไปงานทอดกฐิน คุณแม่ทอผ้าคลุมหัวนาคถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งแม่นุ่งซิ่นตีนจกที่ทอเองกับมือเพื่อไปเฝ้าฯ รับเสด็จ

ครั้นเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นจึงทรงถามคุณแม่และคุณยายว่าผ้าอะไรหรือจ๊ะที่นุ่ง ลายแปลกดีนะ ผ้าอย่างนี้ทำได้อีกหรือเปล่าทั้งคุณแม่และคุณยายดีใจสุดๆ จากการทอผ้าเล็กๆ ก็เริ่มมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเยี่ยม สั่งทำ ส่วนตัวเองตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มเรียนรู้วิธีการทำผ้าซิ่นตีนจกโดยคุณแม่ (คุณยายซ้อน) เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้รวมทั้งเทคนิคจกขนเม่น

คุณยายซ้อนยังคงสืบสานงานทอผ้าซิ่นตีนจกโดยยึดถือวิธีทำแบบโบราณดั้งเดิมที่มีมากว่าร้อยปีไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งการใช้ฟืมไม้ ลวดลายและสีสัน รวมไปถึงการจกขนเม่นที่ปัจจุบันหาช่างจกยากแล้ว ตลอดจนเปิดบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้สืบสานและอนุรักษ์

การได้รับเกียรติยกย่องเชิดชูเป็นครูศิลป์ของแผ่นดินในครั้งนี้รู้สึกดีใจ ความรู้ในการทำผ้าซิ่นตีนจกถือเป็นสมบัติที่ล้ำค่าที่สุดที่ได้รับไว้จากบรรพบุรุษ ยายจึงพยายามดำรงรักษามรดกภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหายตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจคุณยายทองอยู่กล่าว

ด้าน นายไพโรจน์ สืบสาม อายุ 40 ปีครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2562” ประเภทเครื่องประดับทองโบราณ (บางใหญ่ นนทบุรี) เล่าว่าเริ่มต้นเรียนจิตรกรรมไทยที่วิทยาลัยในวัง (ชาย) และเรียนต่อโรงเรียนเพาะช่าง ด้านการทำเครื่องประดับไทย หลังจากเรียนจบเข้าทำงานให้กับอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี เริ่มต้นจากงานซ่อมแซมของเก่า วัตถุโบราณ และพัฒนามาเป็นการทำเครื่องประดับทอง กว่า 20 ปีจึงตัดสินใจออกมาสร้างสรรค์งานด้วยตนเอง มีโอกาสจัดทำชุดเครื่องประดับทองโบราณให้กับโขนพระราชทาน

ศิลปหัตถกรรมปี 2562

ไพโรจน์ สืบสาม

ศิลปหัตถกรรมปี 2562

เครื่องประดับทองโบราณผลงานไพโรจน์

เวลาที่ทำผลงานเสร็จแล้วคนได้ใช้และชอบ รู้สึกเต็มตื้นอยู่ข้างในหัวใจ สำหรับรางวัลเชิดชูเกียรติฯ ในครั้งนี้ รู้สึกดีใจที่มีคนเห็นความตั้งใจ เห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ องค์ความรู้ต่างๆ ที่เรามีไม่ควรจางหาย สามารถต่อลมหายใจได้นายไพโรจน์กล่าว

งานเครื่องประดับทองโบราณที่นายไพโรจน์ยังคงสืบทอดอยู่นั้นมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายกระจังใบพฤกษ์ ลายพรรณพฤกษา ลายกระจังตาอ้อย ถือเป็นงานฝีมือลวดลายไทยโบราณที่สร้างสรรค์ตามแบบฉบับภูมิปัญญาดั้งเดิมทุกรายละเอียด

ศิลปหัตถกรรมปี 2562

พิชิต นะงอลา

นายพิชิต นะงอลา อายุ 31 ปีทายาทช่างศิลปหัตถกรรมประจำปี 2562” ประเภทเครื่องโลหะ (งานดุนโลหะ) เล่าว่าเรียนจบด้านศิลปะเมื่ออายุ 17 ปี มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้งานดุนโลหะกับครูดิเรกที่บ้านวัวลายศรีสุพรรณ เพราะต้องการนำมาประกอบอาชีพ เมื่อฝึกฝนได้ 1 ปีเกิดชื่นชอบงานดุนโลหะและคิดว่างานนี้สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้หลายทาง จึงตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ภาควิชาศิลปะไทย เพื่อนำความรู้มาต่อยอด

งานดุนโลหะของนายพิชิตที่ถ่ายทอดออกมาอยู่ที่ความชัดเจนของลวดลาย เล็ก ละเอียด อ่อนช้อย งดงามรอบด้านในรูปแบบลอยตัว จนกลายเป็นที่ขึ้นชื่อของชุมชนและเป็นของดีประจำจังหวัดเชียงใหม่ ผลงานชิ้นเอกคือ ผลงานไตรภูมิที่นำโลหะทั้ง 3 อย่าง (ทองเหลือง ทองแดง และอะลูมิเนียม) มารวมไว้ในชิ้นงานเดียว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน