ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

โดยธีรดา ศิริมงคล

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น : สดจากเยาวชน – สินสมุทรหลงเข้ามาในนครปัจจุบันอันแสนวุ่นวาย ผู้คนหลงลืมความฝัน พบโลกความจริงอันแสนโหดร้าย

และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ..เรื่องการสอบแอดมิชชั่นที่เด็กๆ ต่างกังวล

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

สินสมุทรค่อยๆ กลายเป็นหิน สุดสาครจึงไปตามพ่อแม่และพระเจ้ายายมาเพื่อหาทางแก้ไข พระเจ้ายายบอกว่าเป็นอาการของไข้แอดมิชชั่น และบอกให้สุดสาครออกเดินทางเพื่อไปตามหาหัวใจทั้ง 5 จาก 5 เมืองต้องคำสาป

นครทั้ง 5 เปรียบเปรยกับหลักสูตร 5 F ที่สำคัญต่อการศึกษาของเด็กไทย ได้แก่

FUN เรียนรู้อย่างสนุกสนาน

FIND การค้นพบตนเอง

FOCUS เจาะลึกความสนใจ

FULFILLMENT เติมเต็มความถนัด

FRUITION เบ่งบานตามความถนัด

การแสดงของเด็กๆ บนเวทีต่างร่วมกันออกผจญภัยตามหาหัวใจทั้ง 5 เมือง ก่อนจะกลับมารักษาสินสมุทรจนกลับมาปกติ

ละครดังกล่าวเป็นการแสดงของนักเรียนโรงเรียนสาธิตพัฒนา เพื่อร่วมสะท้อนภาพปัญหาระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ป้องกันเด็กจากพิษแอดมิชชั่น สื่อแนวการเรียนการสอนที่เสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กๆ

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

ความฝันแห่งวัย ถอนไข้แอดมิชชั่น

จากปัญหาการสอบเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่เด็กรุ่นใหม่ต้องเผชิญ ล้วนนำมาซึ่งความเครียด ความกดดันที่เพิ่มขึ้นของเด็ก ทั้งที่พวกเขาอยู่ในช่วงวัยแห่งความฝัน วัยสนุกไปกับการเรียนรู้

โรงเรียนสาธิตพัฒนาจึงจัดทำละครเวที เรื่อง Satit pattana The Musical “Youthful Dreams ความฝันแห่งวัย” เนื้อหาสะท้อนระบบการศึกษาไทย หวังชี้ทางป้องกันเด็กเครียดจากระบบแอดมิชชั่น มุ่งให้เด็กค้นพบตนเองและเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยนักเรียนเตรียมอนุบาลถึงชั้นม.6 นับพันคนร่วมทำละครฝึกทักษะชีวิต

รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียน สาธิตพัฒนา

รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียน สาธิตพัฒนา

รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียน สาธิตพัฒนา กล่าวว่าทางโรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครู จัดละครเวทีเพื่อเชิญผู้ปกครองและครูร่วมสำรวจระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันที่ใช้เกณฑ์เดียวเพื่อตัดสินเด็กทุกคนว่าเหมาะสมหรือไม่ และส่งผลอย่างไรต่อทิศทางของชาติ สะท้อนผ่านละครเวที เรื่องนี้จะให้คำตอบว่าความ เครียดจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นมีทางออก และการจัดการศึกษาต้องมองที่เด็ก

การปฏิรูปการศึกษาต้องเริ่มต้นที่โรงเรียน ต้องเติมเต็มโอกาสให้เด็ก ทำให้เด็กกล้าสำรวจ กล้าทดลองถูกผิดเพื่อเป็นประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ชีวิตด้วยตัวเอง

การเลี้ยงลูก 1 คนต้องดูแลและรู้ถึงหัวใจ เพราะการเลี้ยงลูกไม่ง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน การแสดงละครเวทีครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ต้องการให้เด็กๆ มีความกล้า โดยสะท้อนหลักสูตรผ่านการแสดงละครเวที การเลือกสะท้อนระบบแอดมิชชั่นเนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยเครียดจากการเรียนและการสอบ การที่เด็กสอบไม่ได้ 1 ครั้งไม่ได้แปลว่าเด็กไม่เก่ง แต่เป็นเพียงเด็กแพ้ในวันที่สอบเท่านั้น เราเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดหลักสูตรให้เด็กรู้ว่าชอบอะไรบ้าง เพื่อทำให้เด็กสามารถสอบได้

ด้วยเหตุนี้จึงอยากฝากผู้ปกครองว่าควรรู้ว่าลูกชอบอะไรเพื่อสนับสนุนลูกได้ถูกทาง สิ่งที่คาดหวังจากการจัดละครเวทีในครั้งนี้คือช่วยสะท้อนชีวิต ทำให้เด็กได้เห็นและรู้ถึงบทเรียนของชีวิตอย่างหนึ่ง การทำงานละครเวทีเป็นการสะท้อนชีวิตอย่างหนึ่งที่เด็กๆ ต้องพบกับอุปสรรคต่างๆ ตลอดการฝึกซ้อมจนถึงการแสดง” รศ.ลัดดากล่าว

รศ.ลัดดากล่าวต่อว่าละครดำเนินเรื่องโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตพัฒนา เริ่มตั้งแต่ในเด็กเล็ก เรียนรู้ผ่านการเล่น เหมาะสมกับวัยของเขาที่ต้องสนุกสนาน จัดกิจกรรมบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆ พอเริ่มโตขึ้นรูปแบบการเรียนรู้จะต้องมีหลากหลายให้เด็กๆ เลือกลองผิดลองถูก เพื่อค้นหาความชอบของตนเอง พอทราบแล้วเด็กจะเริ่มโฟกัสในสิ่งที่ตนเองสนใจมากขึ้น เดินไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่าเด็กที่ยังไม่รู้จักตนเอง

ด.ญ.วาดตะวัน รัตนเชษฐากุล นักเรียนชั้น ม.4

ด.ญ.วาดตะวัน รัตนเชษฐากุล นักเรียนชั้น ม.4

น้องเมจิ ..วาดตะวัน รัตนเชษฐากุล นักเรียนชั้น ม.4 รับบทสุดสาคร เล่าว่าการซ้อมละครทำให้ได้เจอกับรุ่นพี่รุ่นน้อง ทีมผู้กำกับฯและคุณครูที่มาฝึกซ้อมซึ่งช่วยสอนเทคนิคการแสดงต่างๆ เช่น การพูด การสื่อความรู้สึกจากภายใน การสะท้อนอารมณ์ ภาพลักษณ์ การถ่ายทอดอารมณ์ไปถึงคู่แสดง ฯลฯ ช่วยพัฒนาทักษะการแสดง และฝึกให้เป็นคนมีวินัยมากขึ้น

ละครเรื่องนี้เป็นครั้งแรกของโรงเรียนที่เด็กสาธิตพัฒนาทุกคนมีส่วนร่วมทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เด็กเรียนรู้และฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้งการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำพร็อพ เครื่องแต่งกายนักแสดง ฉาก การถ่ายภาพ การจัดการร้านค้า ไปจนถึงนักแสดงที่เราได้ทีมผู้กำกับและครูฝีมือดีระดับประเทศมาออดิชั่นและฝึกซ้อม ทั้งหมดเป็นเหมือนเหตุการณ์จำลองให้เด็กๆ สัมผัสและทดลองทำอาชีพที่สนใจ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่อาชีพที่ต้องการในอนาคต” รศ.ลัดดากล่าวในตอนท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน