ศาลเยาวชนฯ มุ่งฟื้นฟู คืนเด็กสู่ครอบครัว-สังคม

ศาลเยาวชนฯ มุ่งฟื้นฟู – ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ครบ 67 ปี วันที่ 28 มกราคม 2562 นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พร้อมคณะผู้บริหารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คณะผู้พิพากษา และข้าราชการศาล ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุจำนวน 68 รูป

ศาลเยาวชนฯ มุ่งฟื้นฟู

เสวนา

บริเวณด้านหน้าอาคารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ก่อนร่วมพิธีสักการะศาลพระภูมิบริเวณด้านหน้าอาคารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพตุลาการและผู้พิพากษาสมทบที่ล่วงลับ

จากนั้น ..บุญมี ฐิตะศิริ รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานการเปิดงาน พร้อมเปิดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติและผลงานของศาล เยี่ยมชมผลงานของเด็กและเยาวชน ชมการสาธิตงานฝีมือที่น่าสนใจ อาทิ การทำเครื่องจักสาน ทอผ้า การทำอาหาร การติดลายในแก้วใส

ต่อมามีเสวนาทางวิชาการหัวข้อเหลียวหลัง แลหน้า ศาลเยาวชนฯ : ย่างก้าวบนความเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม ที่ห้องประชุมใหญ่ โดยมี ายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนฯศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผอ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) และนายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการอาวุโส เป็นวิทยากร

ศาลเยาวชนฯ มุ่งฟื้นฟู

ศิลปะบำบัด

.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์กล่าวว่า หลังปีค.. 2000 กระบวนการยุติธรรมมุ่งไปในเชิงสมานฉันท์ โดยมองว่าเด็กที่ก้าวพลาดไม่ควร เข้าสู่ระบบทางการมากเกินไป ควรอยู่ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟื้นฟู

พร้อมตั้งข้อสังเกต กระบวนการหรือการติดคุกแล้ว กลับมาเป็นคนดีจริงหรือไม่ การลงโทษ จึงอาจไม่ใช่การกระทำที่ถูกต้องเสมอไป กระบวนการยุติธรรมต้องทำให้เขาสำนึกผิดจริงๆ สร้างการเรียนรู้ ให้โอกาสเด็กและเยาวชนกลับสู่สังคมอย่างปกติสุข

ด้านนายสิทธิศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปี 2550 มีคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิด 33,000 คดี ส่วนในปี 2560 พบว่ามีคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิด 20,000 คดี จะเห็นว่าเด็กกระทำผิดลดลงน่าจะมาจากประชากรเด็กที่ลดลง แต่พบว่าความผิดอาจรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กชายกระทำ ความผิดมากกว่าเด็กหญิง

อีสานมีเด็กกระทำผิดมากสุดในคดียาเสพติด ผิด ...จราจรทางบก พกพาอาวุธปืน ลักทรัพย์ ส่วนมากเป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่ประสงค์ท้าทายต่อเจ้าทรัพย์

จากนี้กระบวนการยุติธรรมใหม่จะมุ่งไปสู่การคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน แก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้ตรง กับสภาพปัญหา ก่อนกลับไปอยู่กับครอบครัวและสังคมอย่างปกติสุข รวมถึงเยียวยาคุ้มครองผู้เสียหายอย่างเหมาะสมผ่านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

เราจะไม่จับเด็กมาวันๆ หรือให้สุ่มเสี่ยงที่จะกระทำผิดแบบเดิม กฎหมายให้อำนาจเราส่งเด็กไปยังโครงการต่างๆ เพื่อบำบัดฟื้นฟู ศาลมีหน้าที่พิจารณาว่าเด็กคนนี้อยู่ในเงื่อนไขที่จะส่งไปบำบัดก่อนตัดสินหรือไม่ ตอนนี้เรามีโครงการวัดความฉลาดทางอารมณ์ โครงการรู้ไอทีมีอาชีพ หรือการ ส่งไปค่ายครอบครัว จริยธรรม คุณธรรม เพื่อกล่อมเกลาจิตสำนึกให้เด็กรับผิดชอบต่อสังคม ต่อตนเอง

เมื่อมีการบำบัดก่อนตัดสินแล้วศาล จะดูว่าควรตัดสินโดยคำพิพากษาหรือมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา หรือจะใช้มาตรการแทนคำพิพากษา จุดมุ่งหมายของเราคือการทำให้เด็กไม่ทำผิดซ้ำอีก เมื่อใดที่ทำได้แปลว่าเราทำสำเร็จนายสิทธิศักดิ์กล่าว

นายสิทธิศักดิ์กล่าวว่า ปีนี้ศาลเยาวชนฯมุ่งเน้นโครงการต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่เด็กผู้เสียหาย เช่น การช่วยเหลือคุ้มครองเหยื่อในคดีอาชญากรรม การให้ความเป็นธรรม การเรียกสินไหมทดแทน เพื่อให้เกิดการสำนึกและการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวจำเลยและผู้เสียหายโดย จะจัดทำแผนการเยียวยาร่วมกับตัวแทนสังคมและชุมชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน