สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี

รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น

สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น : รายงานสุขภาพ – ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีอายุโดยเฉลี่ยน้อยลง โดยส่วนมากพบในกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงานต้นๆ 1 ซึ่งหลายคนในกลุ่มเหล่านี้ยังไม่เคยตรวจหาว่ามีการติดเชื้อและไม่ทราบว่าตนเองได้รับเชื้อแล้ว

สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น

สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น

สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น

สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่กว่าครึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น

ผศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ สาขาวิชาโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น คือ การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

ผศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ

ผศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ

ซึ่งเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อส่วนมากมีความรู้เรื่องนี้อยู่แล้วว่า การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการได้รับเชื้อเอชไอวี แต่หลายคนก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่บนความประมาทและได้รับเชื้อมา ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่ที่มีลูกหลานที่อยู่ในวัยเสี่ยงต้องคอยย้ำเตือนให้พวกเขาป้องกันและตระหนักถึงเรื่องนี้

สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศ ไทยแม้จะไม่เลวร้ายหากเทียบกับเมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง เพราะมีผู้ได้รับเชื้อรายใหม่ทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5,000-6,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยคือวันละ 17 คน เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยจะต้องกินยาตลอดชีวิต หากหยุดกินเชื้อไวรัสก็จะกลับมาแบ่งตัวและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้”

.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยา บาลรามาธิบดี กล่าวว่า “วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ การใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ มีการแนะนำให้ใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับป้องกันการติดเชื้อหากมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง ประกอบด้วย ยา 2 ประเภท คือ PrEP (pre-exposure prophylaxis) และ PEP (post-exposure prophylaxis)”

ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล

ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล

PrEP คือการใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ อย่างไรก็ตามผู้ที่จะใช้ยาป้องกันแบบ PrEP นี้จะต้องกินยาทุกวัน มาพบแพทย์และเจาะเลือดตามนัด รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

PEP คือการใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีที่สงสัยว่าตนอาจได้รับเชื้อเอชไอวี หรือมีภาวะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับคนแปลกหน้า เกิดอุบัติเหตุจากอุปกรณ์ป้องกัน

เช่น ถุงยางรั่ว หรือถุงยางหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ โดนเข็มตำ โดนมีดบาดและสัมผัสเลือดจากของบุคคลอื่นที่ไม่ทราบผลเลือด ปรึกษาเรื่องการใช้ยาป้องกันชนิด PEP นี้กับแพทย์โดยทันที

หากสงสัยว่าตนอาจได้รับเชื้อควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที ปัจจุบันสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลต่างๆ สำหรับบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ก็สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองรับรอง หรือสามารถโทร.ปรึกษาสายด่วนที่หมายเลข 1663”

ภก.วีรวัฒน์ มีแก้ว

ภก.วีรวัฒน์ มีแก้ว

ภก.วีรวัฒน์ มีแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และการเข้าถึงยา บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด กล่าวว่า เรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ด้วยการวิจัยและพัฒนายาต่างๆ รวมถึงยาต้านเอชไอวี โดยเราได้ตระหนักถึงสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เราจึงอยากช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้เรากำลังพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอยู่ในการศึกษาวิจัยระยะที่ 2 ในประเทศไทยอีกด้วย

อ่าน : เอชไอวี : แนะกลุ่มเสี่ยงตรวจเชื้อเอชไอวีฟรี 2 ครั้ง/ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน