มาลัยเงินครูช่างไทย ของขวัญผู้นำอาเซียน

‘มาลัยเงิน’ครูช่างไทย ในปีนี้ประเทศไทยทำหน้าที่ประธานอาเซียน มีบทบาทสำคัญในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 20 -23 มิ.. 2562 ที่กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิดหลักร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability)

‘มาลัยเงิน’ครูช่างไทย

โดยมีผู้นำและคณะจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ร่วมหารือเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนอาเซียนมุ่งไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติความเชื่อมโยงและการมองไปสู่อนาคตร่วมกัน คณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนวยการเพื่อเตรียมจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน คัดเลือกของขวัญมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้นำอาเซียนและคู่สมรส หนึ่งในนั้นคือมาลัยเงิน ผลงานครูช่างศิลปหัตถกรรมของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT

‘มาลัยเงิน’ครูช่างไทย

อัมพวัน

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ของขวัญซึ่ง SACICT คัดสรรให้เป็นของขวัญเพื่อมอบแก่ผู้นำอาเซียน สร้างสรรค์โดย ครูนฤมล ทอนใจ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกและเชิดชูจาก SACICT ให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 ประเภทเครื่องโลหะ (เครื่องประดับเงิน)

ถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยภายใต้การส่งเสริมของ SACICT ชิ้นงานมาลัยเงินได้รับแรงบันดาลใจ มาจากพวงมาลัยถวายพระ แสดงออกถึงจิตคารวะ โดย พวงมาลัยมักถูกใช้ในวาระมงคลและการต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยไมตรีจิต สื่อความหมายที่ลึกซึ้ง นอกไปจากความงดงามของภูมิปัญญา เทคนิคการทำที่ละเอียดประณีตบรรจงแล้ว ยังสอดคล้องกับตราสัญลักษณ์การประชุมอาเซียนในครั้งนี้

การร้อยเรียงดอกไม้ยังสะท้อนความหมายบ่งบอกถึงความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนที่กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวในการช่วยเหลือเกื้อกูลและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เป็นความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยั่งยืนดุจมาลัยเงินที่ไม่มีวันโรยรา

‘มาลัยเงิน’ครูช่างไทย

ครูนฤมล

ด้าน ครูนฤมล ทอนใจ ครูช่างศิลปหัตถกรรมของ SACICT ปี 2557 ประเภทเครื่องโลหะ บอกเล่าถึงวิธีการทำมาลัยเงินว่าทำด้วยวัสดุเงินแท้ ผ่านขั้นตอนที่สลับซับซ้อน การหลอมละลายด้วยอุณหภูมิสูงกว่าพันองศา นำมาขึ้นรูปด้วยมือทุกขั้นตอน

โดยเฉพาะการเลียนแบบธรรมชาติในการเข้ากลีบดอกมะลิ ดอกรัก และดอกกุหลาบ ทั้งตัวพวงมาลัยและการทำช่ออุบะตามแบบของจริงทุกประการ จึงออกมาเป็นมาลัยเงินที่เหมือนจริง อ่อนช้อย สะท้อนทักษะ ฝีมือ องค์ความรู้ การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาพื้นถิ่นของช่างเครื่องเงินพื้นบ้าน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

รู้สึกภาคภูมิใจที่มาลัยเงินนี้จะมอบไปยังผู้นำอาเซียนและคู่สมรสทั้ง 10 ประเทศ ผลงานชิ้นนี้แสดงถึงงานหัตถศิลป์ล้ำค่าและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมอาเซียนครูนฤมลทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน