โรคซึมเศร้า ภัยเงียบด้านสุขภาพ

คอลัมน์ ข่าวสดสุขภาพ

โดย ปารณีย์ จันทรกุล

โรคซึมเศร้าสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ คุณมีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่หรือไม่ และมีความรู้สึกเบื่อ หรือไม่อยากทำอะไรไหม?” ถ้าคำตอบ คือใช่ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ากำลังตกอยู่ในภาวะ ซึมเศร้า หากไม่รีบรักษาอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

โรคซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิตสำรวจเมื่อปี 2551 พบว่ามีคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้น ไปที่เป็นโรคซึมเศร้ามีประมาณร้อยละ11.5 หรือประมาณ 1.5 ล้านคน

ต่อมา ปี 2556 สำรวจอีกครั้ง พบผู้ป่วยซึมเศร้าเกือบล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง แต่มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเพียง ร้อยละ 61

ใครเป็นโรคซึมเศร้าได้บ้าง

เป็นได้ทุกเพศทุกวัย เด็กเล็กก็เป็นได้ แต่อาจจะไม่แสดงอารมณ์เศร้าเหมือนผู้ใหญ่ เช่น เด็กเล็กอาจไม่เล่น หรือเล่นน้อยลงกว่าที่เคยเป็น ส่วนในเด็กโตอาจทำอะไรเสี่ยงๆ ที่ไม่เคยทำในยามปกติ ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเรียนหนังสือ หงุดหงิด ไม่ร่าเริง

ส่วนผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียสุขภาวะสูงมากในผู้หญิง เนื่อง จากโรคซึมเศร้าเป็นอันดับ 3 รอง จากโรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวาน

โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าสูงเพราะคุณแม่หลังคลอด 6 คนจะเกิดภาวะซึมเศร้าได้ 1 คนเลย ทีเดียว

จะทราบได้อย่างไรว่า เป็นภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า?

โรคซึมเศร้า

นพ.ประทานนท์ ขวัญสนิท จิตแพทย์สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา แนะให้สังเกตตัวเองว่าหากมีอารมณ์เศร้า เนื่องจากมีสิ่งเร้า เมื่อสิ่งเร้า หายไป จิตใจจะดีขึ้น เช่น ถ้าทะเลาะกับแฟนตอนเช้า พอตกบ่ายแฟนโทร. มาขอคืนดี ก็เลิกเศร้า นั่นคือ ภาวะเศร้า

แต่โรคซึมเศร้า อาจเกิดจากสิ่งกระตุ้นที่รุนแรงทำให้เกิดอารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง แม้สิ่งกระตุ้นหายไป ก็ยังรู้สึกเศร้าอยู่

เช็กลิสต์โรคซึมเศร้า ลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

โรคซึมเศร้า

1.อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม 2.เบื่อ ไม่อยากทำอะไรหรือทำอะไรก็ไม่สนุกเพลิดเพลินเหมือนเดิม

อาการเหล่านี้รวมกันอย่างน้อย 5 อาการ คือ 1. เบื่ออาหารหรือกินมากไป 2. หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะหลับยาก 3. คิดช้า พูดช้า ทำอะไรช้าลง หรือหงุดหงิดกระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ 4. อ่อนเพลียเหนื่อยใจ 5. รู้สึกตนเองไร้ค่า 6.สมาธิ ความคิดอ่านช้าลง 7.ไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรือ อยากทำร้ายตัวเอง

อาการเหล่านี้มีเกือบทั้งวันและเป็นติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ รวมทั้ง ทำกิจวัตรประจำวัน เข้ากิจกรรมด้านสังคม ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม หรือ มีความทุกข์ทรมานใจ อย่างเห็นได้ชัด

โรคซึมเศร้า

ถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษา อาจรุนแรงถึงขึ้นเสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตาย เพราะผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า!

ทางที่ดีที่สุด จึงควรไปพบจิตแพทย์เพราะโรคซึมเศร้ารักษาหายได้ โดยกินยาต้านเศร้าอย่างน้อย 6-9 เดือน หรือรักษาด้วยจิตบำบัด

ขณะที่ครอบครัว เพื่อนๆ และคนรอบข้างมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจดีขึ้น โดยรับฟังอย่างจริงใจ ตั้งใจฟังและเข้าใจ พาไปพบจิตแพทย์และไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อถึงเวลาตรวจตามนัด หากมีเวลาก็ให้ชวนไปออกกำลังกายและร่วมกิจกรรมในชุมชน รวมทั้งชวนให้ผู้ป่วยมองสิ่งรอบข้างอย่างมีความสุข คิดบวก และไม่นึกถึงสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ หรือ สิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่ดี เช่น ความรู้สึกแย่กับตัวเอง หรือ รู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว หรือ รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระกับครอบครัว

โรคซึมเศร้า

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่เอ่ยปากไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือ อยากทำร้ายตัวเอง ครอบครัวและคนรอบข้างต้องไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียวและดูแลอย่างใกล้ชิด 24 .. พร้อมทั้งเก็บสิ่งที่อาจเป็นอันตรายหรือใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายตัวเองหรือปลิดชีวิตตัวเอง เช่น เชือก ของมีคม อาวุธปืน ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลงหรือ ยาอันตรายต่างๆ

ทุกคนตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าได้ แต่ป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรค ซึมเศร้าได้เช่นกันด้วยวิธีง่ายๆ โดยหาคนที่ไว้ใจพูดคุยด้วย หากิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุข หรือไปหาเพื่อนและครอบครัวบ่อยๆ และสม่ำเสมอ หากมีเวลาให้ออกกำลังกาย อย่างน้อยเดินระยะสั้น สัก 30 นาที ให้พอเหงื่อซึมก็ยังดี รวมทั้งกินอาหารและนอนเป็นเวลา ซึ่งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และห้ามใช้ยาเสพติดเพราะจะทำให้อาการซึมเศร้าเป็นมากขึ้น

โรคซึมเศร้า ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งหายเร็ว หากได้รับการรักษาถูกวิธี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน