เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

เรื่องเล่าจากปู ไปรยา – วิกฤตการณ์การล่มสลายของประเทศเวเนซุเอลานับเป็นปรากฏการณ์ช็อกโลก ประชาชนกว่า 4 ล้านคนต้องหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง เงินเฟ้อ ความยากจน การขาดแคลนปัจจัยสาธารณูปโภคและการ ดำรงชีพ

เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

ชาวเวเนซุเอลาเดินทางออกจากประเทศในสถานะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ตั้งแต่ .. 2557 และมีการหลั่งไหลของ ชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากในปี ..2560- 2561 มากกว่า 5,000 คนต่อวัน เป็นการอพยพและลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา ร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากวิกฤตซีเรีย

ด้วยวิกฤตครั้งนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เชิญ ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายนที่ผ่านมาที่ประเทศโคลัมเบียซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาไว้ มากที่สุดในโลก

เพื่อดูการทำงานของ UNHCR ในการมอบความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่ครอบครัว ชาวเวเนซุเอลาที่กำลังสิ้นหวัง และเพื่อ เก็บภาพและข้อมูลทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

การเดินทางเยี่ยมผู้ลี้ภัยครั้งนี้นับเป็นภารกิจในต่างประเทศครั้งที่ 3 ของปู ไปรยา หลังจากลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยซีเรียในประเทศจอร์แดน และชาวโรฮิงยาในประเทศบังกลาเทศในปีที่ผ่านมา ครั้งนี้ ปู ไปรยา บอกว่าเป็นครั้งที่หนักหนาที่สุดในชีวิต

หลังเดินทางกลับมา UNHCR เชิญสื่อมวลชนร่วมพูดคุยและสัมภาษณ์พิเศษ ปู ไปรยา ถึงภารกิจในครั้งนี้ เธอเล่าว่าได้เห็นการหนีตายของคนนับพันที่สะพานข้ามแม่น้ำตาชีรา ชายแดนโคลัมเบียเวเนซุเอลาที่เป็นเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่โคลัมเบีย เห็นคนท้อง คนพิการ เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง

นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่มีแม้แต่น้ำ ไฟฟ้า ยารักษาโรค หรืออาหารดำรงชีวิต เด็กหลายคนต้องป่วยและเสียชีวิตเพราะไม่มีนมและต้องรองน้ำที่มีสารปนเปื้อนเพื่อดื่มประทังชีวิต การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น

เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

ปู ไปรยา เล่าต่อว่าที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของ UNHCR บริเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ทำงานตลอดเวลาเพราะทุกคนที่เข้ามาต่างมีภาวะฉุกเฉิน มีทั้งเด็กพิการ ร่างกายผิดปกติ เด็กและผู้ใหญ่มากมายป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ได้คุยกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ตอนที่กอดให้กำลังใจพวกเขา ร่างกายเขาเหลือแต่กระดูก ได้พบกับแอนเดรียนา สามี และลูกของพวกเขา 3 คน จากเวเนซุเอลาที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด

UNHCR พบพวกเขานอนข้างถนน จึงช่วยเหลือให้การรักษาและความคุ้มครอง แอนเดรียนาเจอกับความโหดร้ายในเวเนซุเอลาจนต้องอพยพมาที่โคลัมเบีย เธอไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ต้องยอมให้ลูกและตนเองนอนข้างถนนเพื่อเอาชีวิตรอด

เธออยู่อย่างหวาดกลัวทุกคืนเพราะมีกลุ่มติดอาวุธ ขี่มอเตอร์ไซค์วนเวียนมาถามเธอว่าจะขายอวัยวะของลูกเธอไหม เมื่อได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เธอบอกว่าคืนนี้จะเป็นคืนแรกที่เธอจะปลอดภัยที่สุด

เรื่องเล่าจากปู ไปรยาค่ายผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา

ปูถามผู้คนเหล่านี้เมื่อมีโอกาสอยู่กับพวกเขาเพียงลำพังว่าต้องการอะไร เขาต้องการอาชีพและศักดิ์ศรีคืน เพราะเชื่อว่าจะดูแลตัวเองได้หากได้อาชีพคืน หลายคนเป็นอาจารย์ เป็นพนักงานต่างๆ เพียงแต่ วันนี้การล่มสลายของประเทศไม่อาจให้พวกเขาในสิ่งเหล่านั้น เขาขอให้พวกเรารับรู้ เอาความยากลำบากนี้มาบอกกล่าวให้คนทั้งโลกรับรู้

ด้าน อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน UNHCR ประจำประเทศไทย กล่าวว่าที่นั่นเรามีศูนย์ช่วยเหลือเพียง 2 จุด มีเจ้าหน้าที่ที่กำลังทำงานเพียง 27 คนเท่านั้น เราต้องการขยายการทำงาน แต่ถูกจำกัดด้วยงบประมาณและกำลังคน

ทุกๆ คืนเจ้าหน้าที่ต้องออกเดินไปตามท้องถนนเพื่อค้นหาครอบครัวที่เปราะบางที่สุดเพื่อช่วยเหลือ ทั้งที่จริงทุกครอบครัวเปราะบางและควรได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด เมื่อเราเลือกอาจหมายความว่ามีครอบครัวหนึ่งที่รอดและอีกครอบครัวหนึ่งต้องตาย

ปู ไปรยา กล่าวตอนท้ายว่าคงมีการตั้งคำถามว่าทำไมปูถึงไม่ช่วยคนในประเทศ มีคนที่เดือดร้อน มีคนที่น้ำท่วม ปูช่วยเหลือดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในส่วนตัวหรือที่คนทราบก็ตาม แต่งานของ UNHCR นั้น ครั้งนี้ที่เราได้ไปประเทศเวเนซุเอลา อยากเตือนให้ทุกคนทราบว่าบางครั้งการล่มสลายของประเทศหนึ่งเกิดขึ้นเร็วมากโดยที่เราอาจไม่ทันตั้งตัว อย่างที่นี่ใช้เวลาเพียง 4 – 5 ปีเท่านั้น ประชาชนไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ

ก่อนที่ทุกคนจะบริจาคเงินให้เรา ขอเพียงให้ทุกคนรับทราบปัญหา เรียนรู้ไว้เป็นบทเรียนและตระหนักถึง ปูเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนไหนเกิดมาแล้วอยากเป็นผู้ลี้ภัย ต้องมาขออาศัยประเทศอื่น พวกเขาไม่รู้จะหันไปหาความช่วยเหลือได้จากไหน เพราะฉะนั้นการลงพื้นที่แต่ละครั้งมอบความทรงจำและพลังให้ปูต้องทำงานหนักและมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR เพื่อยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกต่อไป

ร่วมบริจาคเพื่อช่วยชีวิตครอบครัวชาวเวเนซุเอลาได้ที่ www.unhcr.or.th/donate/venezuela SMS พิมพ์ 99 ส่งไปที่ 4141099 เพื่อบริจาคครั้งละ 99 บาท หรือ โทร. 0-2206-2144 (วันจันทร์ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 .)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน