มิวเซียมสามัญชนมุมมองประชาชน : สกู๊ปหรรษา

มิวเซียมสามัญชน – ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน องค์กรที่รวมตัวกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ นักกิจกรรมทางสังคม ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 22 ..2557 ตั้งใจที่จะทำให้เรื่องราวการเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นที่จดจำ ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์สามัญชน” (Museum of the Commoners)

เป็นนิทรรศการที่รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของประชาชน หลังการทำรัฐประหารจนถึงปัจจุบันมาจัดแสดง ภายใต้ชื่อ “NEVER AGAIN” หยุด ย่ำ ซ้ำ เดิน

มิวเซียมสามัญชน

แขกที่ไม่ได้รับเชิญไปเยี่ยมถึงบ้าน

เป็นนิทรรศการที่มีแนวคิดแปลกใหม่ เก็บรวบรวมสิ่งของจากหลายๆ กิจกรรมการรณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ข้อความ จดหมาย โปสเตอร์ เสื้อผ้า และสื่อประชาสัมพันธ์

ความพิเศษของนิทรรศการคือ ไม่ได้จัดขึ้นจากมุมมองของภาครัฐแต่เป็นมุมมองของภาคประชาชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ที่รัฐไม่เลือกจำ นำมาจัดวางไว้เป็นหมวดหมู่ประเด็น และยังสะท้อนความสร้างสรรค์ของการรณรงค์ ที่อาจเป็นบทเรียนให้กับการทำกิจกรรมรณรงค์ในอนาคต

มิวเซียมสามัญชน มิวเซียมสามัญชน มิวเซียมสามัญชน

พิพิธภัณฑ์สามัญชนเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกๆ ประเทศในโลกล้วนมีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมา ประเทศไทยก็เช่นกัน มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่บอกเล่าความเป็นมาของการก่อร่างสร้างตัว แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือที่ทางของสามัญชน

ขณะที่เอกสารสำคัญ รวมถึงวัตถุโบราณต่างๆ ล้วนได้รับการปกป้องคุ้มครอง แต่ป้ายผ้า สัญลักษณ์ และงานศิลปะที่สามัญชนสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้ บอกเล่าความเดือดร้อน หรือสื่อสารประเด็นต่างๆ กลับถูกลืมเลือน ราวกับไม่เคยเกิดขึ้น พิพิธภัณฑ์สามัญชนจึงเกิดขึ้นเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ของสามัญชน ผู้ขับเคลื่อนกงล้อแห่งประวัติศาสตร์ไว้

ของจัดแสดงบางชิ้นมีนัยสำคัญมากกว่าเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ เพราะถูกใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีประชาชนด้วย เช่น เนื้อหาเอกสารการรณรงค์ประชามติรัฐธรรมนูญฉบับ 2560

บางอย่างเป็นหมุดหมายความทารุณต่อนักกิจกรรม ประชาชน ที่เผชิญชะตากรรมเลวร้ายหลายระดับ ตั้งแต่ถูกทำร้ายร่างกาย สูญหาย และเสียชีวิต อีกทั้งหลักฐานและเรื่องราวว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน การต่อต้านขัดขืน การเคลื่อนไหวมากมายที่ไม่ได้ถูกตีแผ่สู่สังคม

มิวเซียมสามัญชน

เสื้อรณรงค์โหวตโนรัฐธรรมนูญ

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจของนิทรรศการ มีภาพถ่ายจัดแสดงมากมายในชื่อแขกที่ไม่ได้รับเชิญจากการที่ประชาชนออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง จนกลายเป็นที่มาของแขกที่ไม่ได้รับเชิญไปเยี่ยมถึงบ้านหรือที่ทำงาน เพื่อระงับไม่ให้ทำกิจกรรมการเมืองในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการต่อต้านรัฐบาล

เอกสาร VOTE NO, เสื้อรณรงค์ประชามติ, หนังสือในนามของความ () ยุติธรรมภายใต้ คสช. และ ข้อความจาก 7 ประชาธิปไตยใหม่ในห้องขัง เกิดขึ้นระหว่างการรณรงค์เพื่อลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2559 มีผู้ถูกจับกุมดำเนินคดี เนื่อง มาจากการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างน้อย 212 คน โดยถูกกล่าวหาในข้อหาต่างกัน

ถูกตั้งข้อหาการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ข้อหาตามพ...ประชามติ รวมทั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116

มิวเซียมสามัญชน

หมวกสุรชัย แซ่ด่าน

มิวเซียมสามัญชน

ขันแดง

หรือแม้กระทั่งขันแดงทักษิณช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2559 กลายเป็นของ ต้องห้าม หรือหมวกพร้อมลายเซ็นสุรชัย แซ่ด่านนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่หายตัวไปจนบัดนี้ รวมไปจนถึงพริก เกลือ กระเทียมที่กลุ่มนักศึกษานำไปแขวนไว้หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล

มิวเซียมสามัญชน

พริก เกลือ กระเทียม

มิวเซียมสามัญชน

นอกจากนี้ยังมีปฏิทินอดีตนายกรัฐมนตรีจากเหตุการณ์เมื่อเดือนพ.. 2561 เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองเข้าล้อมบ้านตรวจยึดปฏิทินปีใหม่ ที่มีรูป นายทักษิณ ชินวัตร และ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สองอดีตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบล ราชธานี และจังหวัดอุดรธานี

รวมถึงยังมีนิทรรศการจัดแสดงเสื้อสกรีนลาย ตามเหตุการณ์การเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ได้ชมอีกด้วย

มิวเซียมสามัญชน

เสื้อเปื้อนเลือดของจ่านิว

มิวเซียมสามัญชน

โดยไฮไลต์ของนิทรรศการถูกแขวนไว้ใน ชื่อเสื้อเปื้อนเลือดของจ่านิวเป็นชิ้นจำลอง สะท้อนเหตุการณ์จากกรณีกลุ่มสตาร์ตอัพพีเพิล นำโดย นายสรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิวสมาชิกคนสำคัญ และมีกำหนดจัดกิจกรรม มหกรรมดนตรี ฝ่ายประชาธิปไตย ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

เป็นกิจกรรมสุดท้ายที่จ่านิวต้องการจัดก่อนเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอินเดีย โดยก่อนถึงวันงานในวันที่ 28 มิ..2562 จ่านิวถูกรุมทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และไม่ได้เข้าร่วมงาน จนบัดนี้ก็ยังจับตัวคนก่อเหตุไม่ได้

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุจุดยืนของนิทรรศการว่า ข้าวของและเรื่องราวเหล่านี้เป็นทั้งพยานหลักฐานของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดนคณะรัฐประหาร พร้อมกับร่องรอยของการพยายามต่อสู้ดิ้นรนในการไม่ยอมรับอำนาจอันไม่ชอบธรรมเหล่านั้น

ด้วยความหวังว่า ข้าวของและเรื่องราวพอจะช่วยย้ำเตือนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา และเริ่มต้นส่งเสียงตะโกนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นซ้ำๆ พร้อมกับเปิดโอกาสในการร่วมเรียนรู้ และแสวงหาหนทางเดินฝ่ามันออกไปด้วยกัน

สำหรับผู้ที่อยากบริจาคสิ่งของเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สามัญชน ไปจนถึงการให้ความรู้ต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊กพิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of the Commonners หรือที่อีเมล์ [email protected]

นิทรรศการจัดแสดงที่ WTF Gallery and Cafe ซอยสุขุมวิท 51 เขตวัฒนา คลองตันเหนือ กทม. มีไปจนถึงวันที่ 10 ..นี้ และอาจมีอีกในโอกาสเหมาะสมต่อไป

นิชานันท์ นิวาศะบุตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน