สร้างสมดุลชีวิต

ฝ่าวิกฤตโควิด19

สร้างสมดุลชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด19 – โรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไป ทั่วโลก สร้างให้ผู้คนรู้สึกหวาดผวา อยู่ในโลกแห่งความกลัว (World of fear) รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะแนวทางการจัดการความรู้สึกเพื่อบริหารชีวิต พิชิตโควิด-19 ให้มีความสุข ปลอดภัย ด้วยการ Redesign ออกแบบวิถีการใช้ชีวิตใหม่, Rethink คิดใหม่ และ Reunite ร่วมแรงร่วมใจผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สร้างสมดุลชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด19

รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

 

สร้างสมดุลชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด19

 

รศ.ดร.วิเลิศ เผยว่าจากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า หากเราสามารถ Redesign โดยเฉพาะการ Redesign Behavior คือการออกแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเสียใหม่ จะนำพามาซึ่งความสุขตามอัตภาพ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราต้องมีสติ รอบคอบ มั่นใจและไม่ตื่นตระหนก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตื่นนอน เดินทางออกจากบ้านกระทั่งกลับเข้ามาในบ้าน

ต้องมีสติ เตือนตัวเอง ทุกครั้งที่ออกไปยังที่สาธารณะ หรือไปพบปะสังสรรค์เพื่อนฝูง ควรระมัดระวัง ไม่ควรมีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง ไม่หยิบจับ หรือแตะต้องสิ่งใดๆ หากมีสิ่งของที่ช่วยในเรื่องการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงหน้ากากอนามัย ควรพกพาติดตัวไว้ เพื่อให้เรารู้สึกปลอดภัยมั่นใจในทุกที่ที่เราไปในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่ความสุขของคุณคือการเมกอัพแต่งหน้าสวย แต่เวลานี้ถูกบดบังด้วยหน้ากากอนามัย ลองหันมาเปลี่ยนแนวการแต่งหน้าใหม่ที่เน้นบริเวณตาและคิ้วให้โดดเด่นน่ามอง

 

นอกจากจะต้องออกแบบพฤติกรรมใหม่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องรู้สึกสบายใจไม่อึดอัดกับพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนไปเช่นนี้ เพราะไม่ใช่แค่การออกแบบพฤติกรรมตัวคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่คุณต้องคิดใหม่ Rethink

สร้างสมดุลชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด19

เช่น การหาความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพื่อลดความหวาดกลัวตื่นตระหนก ยิ่งในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ ทำให้เรามีเวลาอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น นับเป็นโอกาสดีที่เราจะสร้างความสุขจากการอยู่ในบ้านมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ที่เราสนใจชื่นชอบผ่านออนไลน์ต่างๆ หรือการเรียนรู้จากแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น การเรียนทำอาหาร ฝึกร้องเพลง เล่นดนตรี การทำความสะอาดตกแต่งบ้าน หรือเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้นด้วยการออกกำลังกายภายในบ้านแทนการออกกำลังในที่สาธารณะ เป็นต้น

สุดท้าย Reunite สมัครสมาน ร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกัน ไม่กักตุน ไม่แสวงหากำไร ไม่มั่วสุม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เช่น หากคุณเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยง เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ควรจะได้รับการคัดกรองเชื้อโรค และกักบริเวณตัวเองเป็นเวลา 14 วัน เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และกล้ายอมรับ เพราะถ้าเราทำดีที่สุดแล้วแต่ก็ยังเกิดขึ้น ก็ต้องให้อภัยตนเองและคนรอบข้างให้ได้

“ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้อง Rethink และ Reform คิดใหม่ทำใหม่เพื่อสร้างบาลานซ์ระหว่างความสุขและความปลอดภัย ภายใต้วิกฤตโควิด-19” คณบดี คณะบัญชีฯ จุฬาฯ กล่าวปิดท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน