อะไรซ่อนอยู่ในโลโก้บริษัทดัง ส่องดีๆ จะพบไอเดียบรรเจิด น่าทึ่งมาก

อะไรซ่อนอยู่ในโลโก้บริษัทดังซีเอ็นเอ็น รายงานเจาะลึกโลโก้ของบริษัทชื่อดังที่ออกแบบมาสะกดสายตาผู้คน ทั้งยังและมีอะไรซ่อนอยู่ในการออกแบบนั้นๆ ด้วย

เริ่มจาก โลโก้ FedEx หากดูดีๆ จะเห็นลูกศรสีขาวซ่อนอยู่ระหว่างตัว E และ X เป็นไอเดียบรรเจิดที่กวาดมาแล้วหลายรางวัลและเป็นโลโก้ที่ทรงประสิทธิผลที่สุดโลโก้หนึ่งทีเดียว

อะไรซ่อนอยู่ในโลโก้บริษัทดัง

A FedEx Express logo is seen on an airplane at Paris Charles de Gaulle airport in Roissy-en-France May 25, 2020. Picture taken May 25, 2020. REUTERS/Charles Platiau

สตีเฟน ไบเลย์ กูรูด้านดีไซน์ นับรวมโลโก้นี้ให้เป็นผลงานการออกแบบโลโก้ 1 ใน 20 ในการออกแบบในยุคปัจจุบันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความบังเอิญที่แสนสุขในประวัติศาสตร์การออกแบบกราฟิก
ต้นกำเนิดของโลโก้ เกิดจากความบังเอิญโดยแท้

ลินดอน ลีดเดอร์ ออกแบบโลโก้นี้ในปี 2537 ในหัวของเขา นึกถึงลูกศร ตอนออกแบบด้วยการใช้ “พื้นที่เชิงลบ” โดยซ่อนเอาไว้ในตัวอักษรที่เบียดชิดกัน

อะไรซ่อนอยู่ในโลโก้บริษัทดัง

ก่อนที่จะเคาะออกมาเป็นโลโก้นี้ ลีดเดอร์และทีมของเขา ที่แลนเดอร์ แอสโซซิเอเทตส์ ซึ่งเป็นบริษัทรับปรึกษา ออกแบบโลโก้กว่า 400 แบบ ก่อนที่จะสังเกตเห็นว่าใส่ ลูกศร เข้าไประหว่างอักษร E ตัวใหญ่ และอักษร X ตัวเล็กได้

ลีดเดอร์กล่าวว่าลูกศร ชวนให้คนที่เห็นนึกถึงการส่งจากจุด A ไปยังจุด B ที่เชื่อถือได้ รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

พลังของลูกศรเป็นเสมือนโบนัส ที่ไม่ได้ลดการกระทบใจคนดู แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตเห็นลูกศรซ่อนอยู่

ลีดเดอร์กล่าวว่าเท่าที่ได้ยินมา น่าจะมีน้อยกว่า 1 ใน 5 คนที่เห็นลูกศร แต่บอกไม่ได้เหมือนกันว่าคนที่เจอลูกศรสนุกแค่ไหนที่ไปถามคนอื่นว่าพวกเขาเห็นลูกศรในโลโก้ไหม

อีก 1 โลโก้ที่บริษัทเดียวกัน ใช้ลูกเล่น “พื้นที่เชิงลบ” ในการออกแบบ เป็นโลโก้ ของสายการบินนอร์ทเวสต์ แอร์ไลนส์ ที่ใช้ตั้งแต่ปี 2532-2546 (ก่อนที่นอร์ทเวสต์จะควบรวมกับสายการบินเดลตาในปี 2551)

วงกลมและลูกศร รวมกันมองดูเป็นเข็มทิศชี้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และส่วนลูกศร รวมกับตัวอักษร N ทับซ้อนอยู่บนตัวอักษร W

เทคนิคการออกแบบโดยซ่อนบางสิ่งบางอย่างเป็นการสื่อสารให้เห็นด้วยตาเป็นสิ่งที่สามัญมากและใช้ในการออกแบบโลโก้มานานแล้ว โดยนิยมกันมากในช่วง 50 ปีที่แล้วซึ่งนำมาเป็นหัวใจหลักในการออกแบบให้ดูมีไหวพริบและการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบ ทำให้ในยุคนั้นเป็นยุคของความคิดบรรเจิด

พอล แมคนีล นักออกแบบตัวพิมพ์และอาจารย์วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ลอนดอน กล่าวว่าการออกแบบที่ใช้การลวงตาอาศัยหลักจิตวิทยาการมองเห็นและทฤษฎีเกสตอลท์ เนื่องจากสมองจะประมวลภาพทั้งหมดจากเส้นสาย รูปร่างและส่วนโค้งเว้าเป็นภาพรวม

เป็นทั้งตัว N และตัว W

บางโลโก้ใช้วิธีซ่อนภาพหนึ่งภาพใดอยู่ในภาพใหญ่และจะต้องร้อง “อ๋อ” ถ้าชี้ให้เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ เช่น หมีขั้วโลกที่ซ่อนอยู่ในภูเขาแมตเตอร์ฮอร์น ซึ่งเป็นโลโก้ของช็อคโกแลตทอปเบอโรน

ตัวหมีแฝงอยู่ในภูเขา

แมคนีลกล่าวอีกว่าการออกแบบโลโก้ต้องตอบโจทย์ให้ได้ ทั้งการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำและมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การสื่ออารมณ์เชิงบวกต่อผู้พบเห็น

ปัจจุบันนี้ โลโก้ต่างๆ นิยมออกแบบให้ดูง่ายขึ้นและสื่อสารตรงไปตรงมา เช่น Facebook และ Google
โลโก้ที่แม็คนีลชื่นชอบมากที่สุด คือ โลโก้ของบริษัท Elettro Domestici หรือ ED ของอิตาลี ซึ่งออกแบบง่ายๆ ด้วยการเล่นตัวอักษร ED ทับซ้อนกันด้วยการใช้พื้นที่เชิงลบ ทำให้ออกมาเป็นรูปร่างปลั๊กไฟ

ตัว E สีขาว ตัว D สีดำ ออกมาเป็นรูปปลั๊ก พอดี

ส่วนโลโก้บริษัท IBM ที่พอล แรนด์ออกแบบได้โดดเด่นมาก ใช้ทั้งรูปแบบเชิงบวกและลบ ผสมผสานกันอย่างลงตัวสื่อถึงความบอบบางและมั่นคง แต่ถ้าให้พูดถึงโลโก้ที่มีมาแต่โบราณ ก็จะนึกถึง สัญลักษณ์หยินหยาง ซึ่งเป็นการออกแบบที่เหนือกว่าการออกแบบทั้งมวล

หยิน หยาง การออกแบบเหนือการออกแบบทั้งมวล

 

///////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน