หน้ากากจากหัวใจ คืนรอยยิ้มให้ชุมชน

หน้ากากจากหัวใจ – แม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายครอบครัวหลายชีวิตต้องประสบปัญหาเดือดร้อน แต่ยังมีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นถึงการช่วยเหลือแบ่งปันน้ำใจให้กัน

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

หน้ากากผ้าบาติก

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

หน้ากากผ้าไหมแต้มหมี่

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

หน้ากากผ้าเขียนลายคราม

โดยเฉพาะเมื่อหลายเดือนก่อนชาวบ้านในหลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและภัยแล้ง ไม่มีงานไม่มีเงิน ขาดรายได้ในการดำเนินชีวิต ศูนย์ ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เข้าไปส่งเสริมให้ครูช่างศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นต่างๆ เป็นผู้นำชุมชนให้ชาวบ้านเหล่านั้นน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

ชาวบ้านชุมชนดอนยายเหมตัดเย็บหน้ากาก

 

ในงานด้านศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มาเป็นแสงสว่างนำทางให้ชีวิตกลับมาสดใสอีกครั้ง ผ่านโครงการ “หน้ากากจากหัวใจชุมชน” ที่ขยายไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ และที่น่าชื่นใจคือได้รับการสนับสนุนด้วยน้ำใจอันยิ่งใหญ่จากคนไทยทั่วประเทศ ทำให้ชาวบ้านยิ้มได้เกิดกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป

ภารดี วงศ์ศรีจันทร์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2555 กล่าวว่า “ปกติทำงานศิลปหัตถกรรมอยู่แล้ว เป็นงานด้นมือทำเป็นเครื่องนอน ทั้งผ้าห่ม ผ้าปูเตียง ผ้าคลุม หมอนอิงต่างๆ แต่เมื่อโควิดมา ทุกอย่างนิ่งไปหมด ไม่มี ออร์เดอร์เลยแม้แต่รายเดียว เดือดร้อนกัน มากค่ะ

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

ภารดี วงศ์ศรีจันทร์

 

พอ SACICT เข้ามาส่งเสริมเรื่องแนวพระราชดำริในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทำให้ครูเองและชาวบ้านเข้าใจและนำแนวทางศิลปาชีพมาทำหน้ากากทางเลือก โดยนำผ้าฝ้ายของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ มาผลิตเป็นหน้ากากพิมพ์และเขียนลาย จากครามธรรมชาติ ได้รับการตอบรับที่ดีมาก มียอดเข้ามาจนผลิตไม่ทัน เกิดการรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน ขยายไปสู่ชุมชนรอบข้างมากขึ้น เพราะตอนนี้ทุกคนหยุดอยู่บ้านมาหารายได้เพิ่มตรงนี้ ทำให้ชาวบ้านยิ้มออก”

สุภาณี ภูแล่นกี่ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 เล่าว่า “เราทำอาชีพทอผ้าขายผ้ามานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านหัวฝายคือลายหมากบกและหมากจับผ้าทุกผืนมีลวดลายละเอียด ประณีต สีสันสวยงาม SACICT เข้ามาส่งเสริมให้เราภาคภูมิใจในความเป็นไทยและการเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดงานศิลปาชีพและหัตถกรรมไทยให้อยู่คู่คนไทย

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

สุภาณี ภูแล่นกี่

 

ยิ่งตอนโควิดระบาด SACICT สนับสนุน ให้เปลี่ยนรูปแบบจากการทอผ้าผืนขายมาทำหน้ากากผ้าไหมแต้มหมี่ น่าดีใจมากว่าพอทำออกมาขายผู้บริโภคชอบมาก สั่งซื้อเราจนผลิตแทบไม่ทัน ขอบคุณคนไทยที่ไม่ทิ้งกัน ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพในยามลำบาก”

ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 กล่าวว่า “ภาคใต้เองก็ได้รับผลกระทบจากโควิดรุนแรง กระบี่ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวแต่หลายเดือนที่ผ่านมาไม่มี นักท่องเที่ยวเลย เศรษฐกิจท้องถิ่นหยุดชะงักหมด ชาวบ้านลำบากไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ แต่ภายใต้ความเดือดร้อนนี้

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

ธนินทร์ธร รักษาวงศ์

 

ทั้งตัวครูเองและชาวบ้านเห็นความหวังเมื่อ SACICT นำแนวทางศิลปาชีพและหัตถกรรมท้องถิ่นมาให้เราทำงาน เปลี่ยนจากการทำผ้าบาติกขายนักท่องเที่ยวมาทำหน้ากากทางเลือกโดยใช้ภูมิปัญญาการทำผ้าบาติก นำลวดลายและสีสันจากธรรมชาติมาออกแบบ กลุ่มเป้าหมายของเรากลายเป็นคนไทยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้ามาช่วยซื้อ ช่วยสนับสนุน ครูน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะเดียวกันก็ซาบซึ้งในน้ำใจคนไทยทุกคน”

หน้ากากจากหัวใจคืนรอยยิ้มให้ชุมชน

นายพรพล เอกอรรถพร

 

นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริม ศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าน่าดีใจที่โครงการ “หน้ากากจากหัวใจชุมชน” ได้รับน้ำใจที่ยิ่งใหญ่จากคนไทยช่วยสนับสนุน ต่อเนื่องขณะนี้มีชาวบ้านร่วมโครงการกว่า 500 ราย สร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะขยายชุมชนออกไปทั่วประเทศเพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ชุมชนก้าวเดินต่อไป

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เชิญชวนคนไทยร่วมแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ด้วยการสั่งซื้อหน้ากากแห่งความสุขนี้ได้ที่แอพพลิเคชั่น SACICT Shop หรือโทร. 1289

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน