ส่องทางเท้าไทย! เทียบทางเท้าโลก สิ่งที่คอยกวนใจชาวกรุงเทพในช่วงฝนตก นอกจากจะรถติดแล้ว ปัญหาสภาพพื้นถนนและการเดินทางบนทางเท้าก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ตามแก้ไม่จบเช่นเดียวกัน

ปัญหาน้ำกระเด็น ภาพจากเฟซบุ๊ค>> Supadej Sutthiphongkanasai

ทางเท้าหรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นปากว่า “ฟุตปาธ” โดยทางเท้าแบบมาตรฐานที่ทากรุงเทพมหานครกำหนดนั้นต้องมีขนาด 30×30 และ 40×40 เซนติเมตร และกำหนดความหนาที่ 3.5 เซนติเมตร เราจะเห็นได้ว่าทางเท้าในกรุงเทพนั้นมีความหนาที่บางมากจึงสามารถรองรับน้ำหนักได้น้อยทำให้น้ำสกปรกกระเซ็นออกมาเปื้อนรองเท้าของเราอยู่บ่อยๆ

นอกจากทางเท้าและถนนที่เสื่อมสภาพจะเป็นอุปสรรคในการเดินทางแล้วยังเป็นอันตรายอีกด้วย อาทิ เช่น เหตุการณ์ที่น่าสลดใจเมื่อ หญิงสาววัย 31 ปีได้แท้งลูกเนื่องจากขับรถจักรยานยนต์ตกหลุม บริเวณซอยพึ่งมี แยก 17 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกแม้แต่ใจกลางเมืองอย่างซอย สุขุมวิท 4 ก็ยังเคยเกิดเหตุการณ์ถนนยุบตัวลึกถึง 5 เมตร

นอกจากความปลอดภัยทางเท้าสิ่งที่เราควรคำนึงแล้ว การทำทางเท้าเพื่อคนพิการใช้สอยได้อย่างสะดวกก็เป็นอีกสิ่งที่ควรนึกถึงเช่นเดียวกัน วันนี้ทางทีม ข่าวสด จะพาทุกคนไปส่องทางเท้าต่างประเทศกันว่า “ฟุตปาธ” ของพวกเขาจะเป็นหลุมเป็นบ่อมีน้ำขังแบบประเทศของเรารึป่าวนะ ?

เมืองซานติอาโก ประเทศชิลี ได้นำทางเดินเท้าและสวนสาธารณะมารวมไว้ด้วยกัน มีพื้นที่สำหรับคนทั่วไปเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้ชื่อโครงการว่า “เพฟเมนท์ ทู พลาซ่า” เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในตัวเมือง และยังเป็นพื้นที่ให้แสดงความคิดและจัดกิจกรรมได้อีกด้วย เช่น การจัดแสดงผลงานศิลปะ และลานกิจกรรมสำหรับเด็ก

Pavement to Plaza

Pavement to Plaza

Pavement to Plaza

Pavement to Plaza

Pavement to Plaza

ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ได้จัดทางเดินเท้าเพื่อแยกทางเดินสำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือและผู้ที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างเดิน เพื่อลดอุบัติเหตุในการเดินทางและยังทำอำนวยความสะดวกต่อผู้ที่กำลังเร่งรีบ

เช่นเดียวกับที่ เมืองลิเวอร์พลู ประเทศอังกฤษ ได้ทำการจัดช่องทางเดิน ฟาสต์ เลน (Fast Lane) สำหรับวิ่งออกกำลังกาย หรือผู้ที่เร่งรีบ ณ ใจกลางแหล่งช้อปปิ้งที่ถนน เซนต์จอห์น ผลสำรวจพบว่าประชากรชาวอังกฤษจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนถูกใจไอเดียนี้เป็นอย่างมาก โดย 31 เปอร์เซ็นของสาวขาช็อปชาวอังกฤษบอกว่า ฟาสต์ เลน ช่วยประหยัดเวลาได้มาก แถมการที่ต้องเดินตามหลังคนเดินช้ายังเป็นสิ่งที่น่ารำคาญสุดๆอีกด้วย

ไต้หวัน ที่เมืองเถาหยวน, ไถหนัน และอีกในหลายๆ เมืองใน ได้นำไอเดียการทำทางม้าลาย 3 มิติเพื่อเป็นการพัฒนาความปลอดภัยในการขับขี่ให้กับประชาชนชาวไต้หวัน ซึ่งทางม้าลาย 3 มิตินี้จะทำให้ผู้ขับขี่รถยนตร์ขับรถช้าลงและมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการขับขี่ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยไอเดียนี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ เมืองเดลี ประเทศอินเดีย และได้แพร่หลายไปในหลายประเทศในแถบยุโรปในเวลาต่อมา

กลับมาที่ทางเดินเท้าของประเทศเรากัน..

ขอขอบคุณที่มา 360photography.in,independent.co.uk

dailymail.co.uk

groundplaysf.org

รูปภาพจาก กลุ่มคนไทยขอทวงคืนทางเท้า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน