ผู้ที่เป็นวีแกน และมังสวิรัติ มีความเสี่ยงต่อการกระดูกหักง่าย มากกว่าคนกินเนื้อสัตว์ทั่วไป ถึง 43% ตามผลการศึกษาระยะยาวที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Medicine

กระดูกหัก คือ ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถรองรับน้าหนักจากแรงดังกล่าวได้ และเกิดหัก ก่อให้เกิดอาการปวด เสื่อมสมรรถภาพในการท้างาน รวมทังมีเลือดออกและได้รับบาดเจ็บบริเวณ รอบกระดูกที่ได้รับแรงกระแทก

การแตกหักของกะดูกในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุเป็นเรื่องปกติ แต่จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Medicine ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เป็นมังสวิรัติมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ทานมังสวิรัติ ซึ่งความหนาแน่นของกระดูกคือ การวัดปริมาณของแร่ธาตุ (ส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมและฟอสฟอรัส) ที่มีอยู่ในปริมาณที่แน่นอนของกระดูก

การวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษากลุ่มคนเกือบ 55,000 คนในสหราชอาณาจักร ที่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกกรรมการบริโภคอาหาร ,ลักษณะทางสังคมและประชากร, วิถีชีวิต และประวัติทางการแพทย์ระหว่างปี 2536 ถึง 2544

นักวิจัยแบ่งออกระเภทกลุ่มคนตามลักษณะของอาหารที่รับประทาน คือ 1.กลุ่มบริโภคเนื้อสัตว์ 2.กลุ่มบริโภคปลา (เพสคาทาเรียน) 3.กลุ่มเวจเจเทเรียน ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนมหรือไข่ และ 4.กลุ่มวีแกน กลุ่มคนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ผู้ที่ทานวีแกนที่บริโภคแคลเซียม และโปรตีนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ทานเนื้อสัตว์ มีความเสี่ยงสูงกว่า 43% ที่จะกระดูกหักในบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหากระดูกสะโพก แขน ขา ข้อเท้า และซี่โครง รวมถึงจุดสำคัญอื่นๆ ของร่างกาย ในขณะที่ผู้ที่บริโภคปลา และมังสวิรัติ ก็มีความเสี่ยงที่จะกระดูกหักด้วยเช่นกันแต่ความเสี่ยงจะลดลงกว่าผู้ที่ทานวีแกน

“ผลการศึกษานี้สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพกระดูกที่เพิ่มมากขึ้นด้วยการบริโภคโปรตีนและแคลเซียมตลอดจนค่าดัชนีมวลกาย ” ลอริไรท์ นักโภชนาการ กล่าว “โปรตีน และแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูก”

อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้เป็นศึกษาเฉพาะกลุ่มคนที่บริโภคอาหารที่มีโปรตีน และแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างกระดูกเท่านั้น และผลการศึกษาไม่ได้ระบุว่า กระดูกหักเกิดจากปัญหาโครงสร้างกระดูกในร่างกาย หรือเกิดจากอุบัติเหตุ

ที่มา : CNN Health

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน