โซเชียลแห่แชร์ นิทานที่ควรมีทุกบ้าน สอนเด็กให้ป้องกันตัวการถูกล่วงละเมิด ชาวเน็ตจวก ต้องสอนเด็ก เพราะหวังกับผู้ใหญ่ไม่ได้ เด็กต้องรับภาระในการป้องกันตัว

Twitter

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2563 โซเชียลมีเดีย มีการแชร์ภาพบางส่วนของหนังสือนิทานเด็กเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “ปิงปิงไม่ยอม” โดยหนังสือนิทานเล่มดังกล่าว มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนให้เด็กรู้จักป้องกันตัวจากการถูกล่วงละเมิด

หนังสือนิทานเล่มนี้ยังสอนให้เด็กรู้ว่าการล่วงละเมิดมีลักษณะเป็นอย่างไร และ หากตกเป็นเหยื่อ หรือหากเจอกับสถานการณ์ล่วงละเมิด ควรปฏิเสธ หรือ รับมืออย่างไร ทั้งยังมีเนื้อหาที่สอนให้เด็กช่วยกันสอดส่องว่ามีเพื่อนคนไหนเจอแบบปิงปิงหรือไม่ และ สอนให้เด็กเคารพสิทธิ์ในร่างกายของผู้อื่น โดยหนังสือนิทานเล่มนี้ มีทั้งเวอร์ชั่น เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ซึ่งมีเนื้อหาที่คล้ายกัน

Pass education

Pass education

โดยมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนจำนวนมาก ว่าหนังสือนิทานเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ดี และเป็นนิทานที่ควรมีทุกบ้าน เด็กจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่ยังเล็ก การเรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพื่อให้เด็กสามารถป้องกันตนเองได้อย่างปลอดภัย เพราะสังคมไม่สามารถคาดหวังให้ ผู้ใหญ่มาเคารพสิทธิ์ของเด็กได้ จึงต้องสอนให้เด็กป้องกันตนเองแทน

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

Twitter

โดยทั่วไป หลายคนอาจมองว่าเด็กไม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ เพราะจะเสื่อมเสีย แต่สุดท้ายแล้วการปิดกั้นเรื่องเพศกลับนำไปสู่ผลเสียแก่สังคมมากกว่า เพราะทำให้เด็กไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเองอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ เรามักจะเข้าใจว่าเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศมักจะต้องเกิดขึ้นในที่เปลี่ยว เวลากลางคืน และกระทำโดยคนแปลกหน้า แต่ในความเป็นจริงแล้วเหยื่อมักจะถูกกระทำโดยบุคคลที่รู้จัก หรือคุ้นเคย เช่น พ่อแม่ ญาติ คุณครู เป็นต้น นั่นหมายความว่า สิ่งที่เคยเรียนรู้มาในอดีตไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ญาติ และครู สามารถใช้โอกาสนี้ในการเข้าใกล้เด็กเพื่อล่วงละเมิดทางเพศได้ การอ้างว่า หนังสือนิทานในลักษณะนี้ จะทำให้ภาพลักษณ์ของครูเสื่อมเสีย จะนำไปสู่การคงอยู่ของปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข

ปัจจัยเสี่ยงถูกล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก มีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้นกับ เด็กที่มีความเสี่ยง 4 ประการ ได้แก่ เด็กเล็กที่ไม่สามารถพูดสื่อสารได้ เด็กที่มีพัฒนาการบกพร่อง เด็กที่มีความพิการทางร่างกาย และ เด็กที่อาศัยอยู่กับบิดา หรือญาติที่เป็นผู้ชายเพียงลำพัง ทั้งนี้ ผู้ปกครองต้องพูดคุยกับเด็กอย่างเปิดใจ ตรงไปตรงมา เอาใจใส่ ปลอบโยน เพื่อให้เด็กรู้ว่าตนเองมีสิทธิที่จะปลอดภัยและไม่ใช่ความผิดของเด็ก หากเด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เมื่อเด็กรู้ว่าตนเองมีสิทธิในเรื่องความปลอดภัย ก็จะมีแนวโน้มที่จะเล่าเรื่องราวการถูกล่วงละเมิดได้มากขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน