ทาสแมวระวัง ติด ‘เชื้อรา’ จากแมว ผื่นแดงขึ้นเป็นวง-คัน อย่ารอช้ารีบรักษาด่วน

วานนี้ (22 ก.พ.) ที่ผ่านมา “หมอแล็บแพนด้า” หรือ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ จากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้แชร์ออกมาแชร์ภาพของหญิงสาวรายหนึ่ง ซึ่งเธอได้โพสว่า “ใครเคยเลี้ยงแมวแล้วเป็นแบบเราบ้าง ตอนนี้คือแพ้หนัก กลัวตัวเองมาก ออกไปไหนก็อายใครเคยเป็นช่วยบอกหน่อยรักษายังไง กลุ้มมาก”

หมอแล็บแพนด้าได้ระบุว่าหญิงสาวรายนี้น่าจะติดเชื้อราแมวจากแมวที่เธอเลี้ยง “น้องรีบไปหาหมอนะครับ อาจจะเกิดจากเชื้อราแมว รักษาแล้วน่าจะดีขึ้น ลองไปตรวจดูนะว่าเป็นอะไรกันแน่ ปล.น้องแมวน่ารัก” สำหรับใครที่สงสัยว่าเชื้อราแมวคืออะไร และอยากทราบวิธีการรักษาวันนี้ ทีมข่าวสด ก็ได้เตรียมข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เชื้อราแมวคืออะไร?

เชื้อราแมว คือ เชื้อราที่อาศัยอยู่ผิวหนังของสัตว์ โดยไม่ก่อให้เกิดโรค แต่สามารถติดต่อมายังคนได้ผ่านทางการสัมผัสโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมีบาดแผล ก็ทำให้คนเลี้ยงติดเชื้อราจากแมวได้อย่างง่ายดาย พฤติกรรมที่นำไปสู่การติดเชื้อ เช่น อุ้ม กอด นอนร่วมที่นอนเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งเชื้อราแมวนั้นมีหลายชนิดแต่ที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ เชื้อ Microsporum canis

และนอกจากแมวแล้วสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ก็สามารถทำให้ผู้เลี้ยงติดเชื้อราได้เช่นเดียวกันหากมีการสัมผัสเกิดขึ้นและสัตว์เลี้ยงนั้นมีเชื้อราอยู่ จึงควรปฏิบัติให้เหมาะสมในเรื่องของความสะอาด ทั้งนี้เชื้อราในสัตว์เลี้ยงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสหรือใช้ของบางอย่างร่วมกัน

Ringworm - Bemidji Veterinary Hospital Blog

อาการ และวิธีรักษาหลังจากติดเชื้อราแมว

อาการของผู้ที่ติดเชื้อราแมวก็คือ มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ลักษณะเป็นวง มีขุยรอบ ๆ ค่อย ๆ ขยายเป็นวงกว้าง และรู้สึกคันตลอดเวลา หากเกาแล้ว นิ้วที่เกาเผลอไปเกาบริเวณอื่นอาจทำให้บริเวณนั้นติดเชื้อราด้วยได้ ด้านการรักษาอาการติดเชื้อราแมว หากมีอาการน้อยมีผื่นขึ้นไม่มาก 1-2 จุด ใช้ยาทาฆ่าเชื้อราต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ผื่นจะค่อย ๆ หายไป

แต่ถ้าหากมีอาการมาก ผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ต้องใช้ทั้งยาทาและยากินร่วมกัน ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งในส่วนนี้เป็นการรักษาอาการติดเชื้อ ซึ่งไม่ใช่การรักษารอยดำที่เกิดจากการติดเชื้อ และถึงแม้ว่าอาการเชื้อราจะหายแล้ว รอยดำจากเชื้อจะยังคงอยู่ โดยจะจางไปเองภายใน 2-3 เดือน และมักไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น แต่ในบางกรณีอาจเป็นนานกกว่าปกติ หรือเป็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ได้

Rural infections series: Rural Round Up - Best Tests May 2014

วิธีการป้องกัน และไม่กลับมาเป็นซ้ำ

ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำความสะอาดมือและอวัยวะต่าง ๆ ทุกครั้ง หลังสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง ,ทำควมสะอาดสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ และทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้านที่สัตว์เลี้ยงมีการสัมผัส ในกรณีที่มีการติดเชื้อราแมวแล้ว ก็ควรจะพาสัตว์เลี้ยงไปรักษาด้วย ทั้งนี้ผู้เลี้ยงก็ไม่ควรคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไป อย่างเช่นการพาไปนอนด้วย

คลังภาพถ่ายฟรี ของ ก๊อกน้ำ, การซัก, คน

ที่มา : หมอแล็บแพนด้า / rama.mahidol

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน