เผยผลวิจัยใหม่! ทำไมการ ‘หาว’ จึงเป็นโรคติดต่อ เมื่อเราหาว ทำไมคนอื่นต้องหาวตาม เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์

เคยสงสัยหรือไม่ว่าบางครั้งทำไมที่เรา ‘หาว’ คนข้างๆจึงหาวตามหรือเราอาจหาวตามคนอื่น ทั้งๆที่เราไม่รู้สึกง่วง วันนี้ทาง ข่าวสด มีข้อมูลเกี่ยวกับ การหาว ที่น่าสนใจมากฝากกัน

การหาวตามคนอื่นทั้งที่เราไม่ได้ง่วงนั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่อธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า “Contagious Yawning” ซึ่งผลวิจัยได้ผลสรุปออกมาแล้วว่า การหาวนั้นเป็นอาการติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อลิสเบทตา นักวิจัยจากมหาวิทลัยปิซา ประเทศอิตาลี เธอได้ทดลองสังเกตุพฤติกรรมการหาวของสิงโตเป็นระยะเวลา 5 เดือน จึงพบว่า การหาวของสิงโตจะคล้ายๆกับมนุษย์ พวกมันจะหาวเพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายในช่วงระหว่างตื่นนอนและกำลังเข้านอน เป็นการบ่งบอกว่าร่างกายจะมีอุณหภูมิที่เย็นลงรวมถึงเพิ่มการไหลเวียนของเลือดด้วย

นอกเหนือจากนี้ ยังพบว่า การหาวตามคนอื่นเป็นพฤติกรรมเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว เกิดขึ้นจากเซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neurons) เซลล์สมองส่วนนี้จึงใช้ในการเรียนรู้แบบลอกเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลอื่น

หาวตามกัน เพราะความเห็นอกเห็นใจ ?

เซลล์สมองกระจกเงา คือ การเข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น หรือที่เรียกว่า Empathy Yawn โดยทั่วไป พัฒนาการด้านนี้จะเริ่มมีในเด็กปฐมวัย ช่วงอายุประมาณ 4-5 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น สอดคล้องกับการค้นพบที่ว่าเด็กวัยนี้มีการพัฒนาของเซลล์สมองกระจกเงาด้วยเช่นกัน


การศึกษาของ University of Connecticut พบว่าเด็กส่วนใหญ่จะไม่มีการหาวติดต่อกัน จนกระทั่งจะเข้าสู่ช่วงปฐมวัย เนื่องจากพัฒนาการด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นยังไม่มากพอ ทั้งนี้ ยังพบอีกว่า ในกลุ่มคนที่เป็นผู้ป่วยออทิสติกนั้น เรามักจะไม่พบการหาวติดต่อกัน รวมไปถึงกลุ่มคนที่ไม่มีความอาทรต่อผู้อื่นด้วย แต่สุนัขจะถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่เข้าใจและเห็นอกเห็นในมนุษย์ที่สุด ฉะนั้นพวกมันจึงสามารถหาวตามมนุษย์ได้

ที่มา ladbible.com

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน