ฟัน นอกจากจะช่วยบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพช่องปากที่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติภายในร่างกายอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมและการดูแลสุขภาพช่องปากของ Express Dentist อธิบายถึงความสำคัญของสุขภาพฟันที่อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาเรื่องสุขภาพที่ร่างกายผิดปกติ ดังนั้น ทีมข่าวสดจะขอเสนอวิธีการสังเกตุฟันที่บ่งบอกถึงการมีบางอย่างผิดปกติกับร่างกาย

1. เหงือกสีซีด เป็นหนึ่งในอาการบ่งชี้ว่าอาจเกิดจากภาวะโลหิตจางที่เป็นภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย วิงเวียน และความดันเลือดต่ำลง

2. ฟันกร่อน เกิดจากรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ทำให้เกิดการบดฟัน ไส้เลื่อนกระบังลม อาการกรดไหลย้อน รวมทั้งอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของการทานแบบบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ

ทำให้อาหารในกระเพาะอาหารถูกตีขึ้นมาจนถึงช่องปากจนเกิดการกัดเซาะผิวคลือบฟัน ที่เป็นเนื้อเยื่อที่แข็งครอบคลุมฟัน โดยมีลักษณะเป็นสีขาว หากถูกทำลายจะทำให้ส่งผลต่อสุขภาพฟัน

3. ฟันหลุดอย่างไม่ทราบสาเหตุ กระดูกรอบ ๆ ฟันเป็นรากฐานสำคัญที่รองรับฟันซี่ต่าง ๆ หากรู้สึกว่าฟันหลุดเล็กน้อย คุณอาจเป็นโรคกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่อายุเกิน 50 ปี จากการอธิบายผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้หญิงมักจะสูญเสียฟันก่อนผู้ชาย แม้ว่าจะดูแลฟันดีกว่าก็ตาม

ซึ่งกระดูกขากรรไกรจะมีลักษณะบางกว่าปกติ หากกระทบกระแทก บดเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ ก็อาจทำให้
กระดูกฟันหักได้

4. แผลในปากที่ไม่ทราบสาเหตุ ควรสังเกตอาการอื่นๆ ของโรคไต เช่น รู้สึกเหนื่อย นอนไม่หลับ หรือต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น เพราะโรคไตอาจทำให้เกิดแผลในปาก รสชาติเปลี่ยนไป และอาการปากแห้งจากภาวะซีโรสโตเมียอาจทำให้การผลิตน้ำลายลดลง

จากนั้นเมื่อปากแห้งความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นและค่า pH ต่ำอาจส่งผลให้ฟันผุอย่างรุนแรงและสูญเสียฟันในที่สุด งานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคเหงือกมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น

5. เชื้อราในช่องปาก การมีแผลพุพองและแผลเปื่อยที่ลิ้นหรือด้านในของแก้มจนเกิดเชื้อราหรือคราบสีขาวภายในช่องปาก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงและไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ดังนั้น อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น เช่น เชื้อเอชไอวี โดยมักจะมีอาการปากแห้ง เพิ่มความเสี่ยงต่อฟันผุ รวมไปถึงอาจทำให้เคี้ยว กิน กลืน หรือพูดได้ยาก

6. เหงือกบวม เลือดออก และฟันโยก อาจเป็นอาการของโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาด ที่เป็นการอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งสามารถทำลายเนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกเบ้าฟันอย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัว สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์สะสมระหว่างการทานอาหารและน้ำลาย

วิธีการดูแลช่องปากให้สะอาด ลดการเสี่ยงโรค

1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่ผสมสารฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

2. บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

3. หากสวมใส่รีเทนเนอร์หรือฟันปลอมควรทำความสะอาดทุกวัน โดยใช้ยาสีฟันแปรง ต่อมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นแช่ในน้ำยาสำหรับทำความสะอาดโดยเฉพาะ

4. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่แพทย์ให้จำกัดการดื่มน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปากแห้ง

5. ปรึกษาทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อตรวจเช็กสุขภาพช่องปาก

6. เก็บรักษาแปรงสีฟันให้ถูกวิธี โดยสามารถอ่านคำแนะนำของทันตแพทย์ได้ที่ 8 ทริคเก็บแปรงสีฟัน หลังพบ ‘ละอองอุจจาระ’ ซุกซ่อน ตามขนแปรง

ขอบคุณที่มาจาก The Sun webmd

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน