หากคุณเคยสงสัยว่าน้องแมวรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าของอยู่ส่วนไหนของบ้านหรือเล่นซ่อนหาแล้วหาคุณเจอได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องมองด้วยซ้ำ ขณะนี้วิทยาศาสตร์สามารถไขคำตอบให้กับคุณ

ซาโฮ ทาคางิ นักวิจัยญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเกียวโต ค้นพบว่าแมวสามารถรับรู้ว่าเจ้าของอยู่ตรงไหนของบ้าน ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียง เพื่อระบุตำแหน่ง

ตามวารสาร PLOS ONE รายงานซาโฮศึกษาความสามารถในความเข้าใจมิติสัมพันธ์และการเรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ (Object permanence) ของแมว 50 ตัว โดยเป็นแมวเป็นสัตว์เลี้ยงและแมวที่เลี้ยงกันในคาเฟ่แมว เพื่อที่จะสงเกตว่าแมวแสดงสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ความเข้าใจทางสังคมหรือไม่

แมวมีหูที่บอบบางซึ่งมีกล้ามเนื้อมากกว่า 20 ชิ้น ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง แต่สามารถใช้เสียงในการอนุมานตำแหน่งของเหยื่อที่มองไม่เห็นได้ภายใต้สภาวะที่ทัศนวิสัยต่ำ

ช่วงการได้ยินสำหรับแมวขยายจาก 55 – 79 kHz ลักษณะทางนิเวศวิทยาและกายวิภาคเหล่านี้อาจส่งเสริมการประมวลผลข้อมูลการได้ยินทางปัญญา

เพื่อให้ได้ข้อสรุป นักวิจัยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการทดลองสัตว์แห่งบัณฑิตวิทยาลัยอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต โดยนำน้องแมวปล่อยไว้ตามลำพังในห้องที่มีหน้าต่าง 1 บาน ประตู 2 บาน และมีกล้องสำหรับสังเกตการณ์ 5 ตัว

ต่อมามีลำโพงไร้สายวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ห่างกันอย่างน้อย 4 เมตรนอกห้อง เพื่อเล่นเสียงบันทึกของคนแปลกหน้า เสียงเจ้าของ เสียงแมวที่คุ้นเคย เสียงแมวจากสายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือเสียงอื่น ๆ

จากนั้นเปิดลำโพงที่ตำแหน่งเดิมหรือย้ายตำแหน่งไปรอบ ๆ เพื่อดูว่าแมวมีปฏิกิริยาต่อการเทเลพอร์ตเสียงหรือการเคลื่อนย้ายเสียงไปในระยะไกลในชั่วพริบตา

การวิเคราะห์การบันทึกวิดีโอในเวลาต่อมาเปิดเผยว่า แมวดูแปลกใจน้อยลง เมื่อเสียงของเจ้าของดังขึ้นจากลำโพงเดียวกัน แต่ก็รู้สึกงุนงงเช่นกัน เมื่อจู่ ๆ เสียงของเจ้าของก็ย้ายไปที่ตำแหน่งใหม่ที่ไม่คาดคิด ทว่าแมวแสดงความระมัดระวังต่อเสียงที่ไม่คุ้นเคย เช่น คนแปลกหน้าหรือสิ่งของจึงไม่มีปฏิกริยาตอบสนองมากนัก

“ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าแมวมีการจินตนาการภาพเจ้าของและทำแผนที่ตำแหน่งของเจ้าของในหัวโดยอาศัยเสียง ซึ่งแสดงหลักฐานชั้นสำคัญของการรับรู้ทางสังคม การรับรู้มิติสัมพันธ์ และจดจำตำแหน่งคร่าว ๆ “

ขอบคุณที่มาจาก Iflscience Journals Plos Metro

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน