แน่นอนว่าการตื่นขึ้นเป็นเรื่องยาก บางครั้งถึงแม้จะผ่านไป 8 ชั่วโมงก็ตาม นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนมักเลื่อนนาฬิกาจนติดนิสัย ‘ขออีก 5 นาที’

จากการสำรวจผู้ใหญ่มากกว่าหนึ่งในสามคนกดเลื่อนนาฬิกาปลุกสามครั้งก่อนจะตื่นนอนตอนเช้า และมากกว่าครึ่งของผู้ใหญ่ในวัยยี่สิบและสามสิบต้น ๆ กล่าวว่า ตนเองมักกดปุ่มเลื่อนซ้ำทุกเช้า

หมอนุ้ย ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเต้านม ริดสีดวงส่องกล้อง เผยองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพการนอนผ่านช่องทางติ๊กต็อก โดยการเลื่อนเวลานาฬิกาปลุกไปเลื่อน ๆ นั้นเป็นอันตรายมาก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย 2 ระบบ ได้แก่ ระบบประสาทและสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด

ภาพจาก dr.nuiz

หมอนุ้ยเผยว่า วงจรการนอน ที่เรียกว่า Sleep Cycle ของคนเรา คืนหนึ่งจะมีทั้งหมด 6 ประกอบด้วยหลับธรรมดา, หลับลึก, หลับตื้น, หลับฝัน และหลับไม่ฝัน ซึ่งแต่ละ 1 รอบการนอนนั้นใช้เวลาประมาณ 90 นาที แต่การเลื่อนนาฬิากาปลุกจะเลื่อนทุก 10, 20, 30 หรือ 60 นาที ทำให้เกิดการรบกวนวงจรการนอน ส่งผลต่อความจำระยะยาวและภาวะสมองเสื่อม

ส่วนผลกระทบของระบบหัวใจและหลอดเลือด มักจะเกิดขึ้นในยามเช้า ร่างกายจะเริ่มหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล เพื่อปรับความดันชีพจรขึ้นช้า ๆ ทว่าการตั้งปลุกแบบฉับพลันจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติปรับความดันให้สูงขึ้นทันที อาจทำเกิดโรคหัวใจหรือโรคความดันสูงในระยะยาวได้ ดังนั้น คุณหมอนุ้ยจึงเตือนว่า อย่ากด snooze หรือเลื่อนนาฬิกาปลุกซ้ำบ่อย ๆ พร้อมทั้งควรตื่นแล้ว ตื่นเลย เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง

@dr.nuiz ตอบกลับ @2021untitled #tiktokuni #tiktokuni_th #หมอนุ้ย#รู้หรือไม่#โรคมะเร็ง#หมอผ่าตัด #tiktokแนะแนว #สังคมต้องรู้#ฉันเพิ่งรู้#สุขภาพดี#รักสุขภาพ#นอนหลับ#ที่สุดแห่งปี#ตั้งปลุก ♬ Sunday Morning – Instrumental – Lullaby Players

ขอบคุณที่มาจาก Tiktok

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน