“พีทีทีจีซี” ร่วมโชว์ผลงานแปรรูปขยะพลาสติก ผ่านไอเดีย นักวิจัยและดีไซเนอร์ ระดับชั้นนำของประเทศ สร้างสรรค์ผลงานสร้างมูลค่าเพิ่ม มากกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกพื้นฐาน ในงาน Bangkok Design Week 2018 เปิดไฮไลท์เด่น ในงาน ด้วย อาคารพาวิลเลียน ขนาด 180 ตารางเมตร สร้างจากพลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนผสม พร้อมจัดแสดงผลิตภัณฑ์มากกว่า 13 ชิ้นงาน จากพลาสติกย่อยสลายได้ และพลาสติกจากขยะ เปิดแล้วให้ประชาชนผู้สนใจ เข้าชมงาน 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2561 ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก

นายปฏิภาณ สุคนธมาน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGCในฐานะผู้ผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า ปี 2561 เป็นปีที่ บริษัท PTTGC ได้ให้ความสำคัญในการลดปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในประเทศ ดังนั้นได้มีแผนการขยายผลและต่อยอดภายใต้โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ซึ่งเป็นครั้งแรกของไทย ที่ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ (ECOALF) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแฟชั่นที่ยั่งยืนชื่อดังของโลก เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาขยะในทะเลของไทย ที่ปัจจุบันมีปริมาณที่มากถึง 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งไทยติดอันดับประเทศที่มีขยะในทะเลอันดับ 5 ของโลก

อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน

ดั้งนั้น เพื่อให้เกิดการตื่นตัวของประชาชนและ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีนำขยะพลาสติกที่สามารถสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ ด้วยการแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์กลับไปใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุดตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

พาวิลเลียน จากพลาสติกรีไซเคิล

ในปีนี้ PTTGC ได้เข้าร่วมงาน เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 (Bangkok Design Week 2018) เป็นงานรวมตัว ของนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการชั้นนำจำนวนมาก โดย PTTGC ได้นำผลงานที่ผ่านการวิจัยและออกแบบ มานำเสนอในพื้นที่นิทรรศการ ที่มีชื่อว่า “Waste Side Story by PTTGC” ประกอบด้วยตัวพาวิลเลียนจัดงานขนาด 180 ตารางเมตร ซึ่งมีพลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนผสม และผลงานที่จัดแสดงภายในพาวิลเลียนก็ล้วนมีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิล โดยนิทรรศการ แบ่งออกเป็น 3 โซน ประกอบด้วย Up Waste Zone, Wow Waste Zone และ Together No Waste Zone ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2561 ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก

บล็อคคล้ายอิฐ

“เป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการ ที่นำผลงานของสถาปนิกและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำของไทยและต่างประเทศมาจัดแสดง เพื่อให้เกิดการ (Awareness )สร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในด้านคุณค่าของขยะพลาสติกที่เป็นมากกว่าการนำกลับมารีไซเคิล เพื่อผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์พื้นฐานเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้างสรรค์การผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ผ่านการออกแบบ ผสมผสานเพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่าและยาวนาน โดยการแปรรูปและออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นทั้งเสื้อผ้าและของตกแต่งบ้าน เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้ ”นายปฏิภาณ กล่าว

อิฐพลาสติก ที่แปลงเป็นเก้าอี้

สำหรับผลงานที่นำเสนอภายในพาวิลเลียน ของงานนิทรรศการ ครั้งนี้ เกิดจากกลุ่มนักวิจัย และนักออกแบบชั้นนำของประเทศ มาร่วมจัดแสดงชิ้นงานต่างๆ ทั้งในกลุ่มสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ และเครื่องดนตรี

ชุดราตรี จากพลาสติก

และที่เป็นไฮไลท์ภายในงาน อาทิ “ชุดราตรีเพื่อการออกงาน” ที่ออกแบบโดย คุณประภากาศ อังสุสิงห์ ที่เคยมีผลงานจากการออกแบบชุดประกวดนางงามจักรวาลมาแล้ว รวมถึงแบรนด์ Fly Now ที่ตัดเย็บผ้าผืนแรกที่ได้จากการเก็บขยะ ในโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ซึ่งเนื้อผ้าไม่แตกต่างจากการเส้นใยจากโพลีเอสเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

กีตาร์ จากพลาสติก

“กีตาร์” ผลิตจากพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ทั้งพลาติกอะคริลิก และ มีส่วนผสมของพลาสติกประเภท PLA (Polylactic Acid )เป็นพลาสติกที่ผลิตจากพืช ผ่านการออกแบบสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ทำให้เกิดความโดดเด่น และเพิ่มการสะท้อนเสียงภายในตัวกีตาร์ ประสิทธิภาพการใช้ไม่แตกต่างจากกีตาร์ไฟฟ้าที่ผลิตจากไม้

เครื่องประดับจากพลาสติก

“เครื่องประดับที่ทำจากหลอดพลาสติก” เป็นผลงานนำหลอดพลาสติกมาผลิตเป็นเครื่องประดับ โดยใช้หลักการประกอบหลอด แบบรวงผึ้ง ทำให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง และสามารถใช้ร่วมกับวัสดุชนิดอื่น เพื่อสร้างคุณค่าในงานเครื่องประดับเพิ่มขึ้น

แก้วเบญจรงค์ ย่อยสลายได้

นอกจากผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จัดแสดงภายในงานมากกว่า 13 ชิ้นงาน ยังมีตัว “อาคารพาวิลเลียน” ที่เป็นการนำขยะพลาสติกที่นำไปแปรูปเป็นบล็อกคล้ายอิฐหรือบล็อกพลาสติก โดยผู้ออกแบบได้มีแนวคิดนำขยะพลาสติกมาใช้เป็นส่วนผสมของพาวิลเลียน ต่อเชื่อมเป็นพนังมีความสูงถึง 4.50 เมตร ใช้ชิ้นส่วนพลาสติก 4,388 ชิ้น สามารถนำไปก่อสร้างเป็นพาวิเลียนใหม่ที่ปรับขนาดใหม่ได้ให้เหมาะกับพื้นที่จัดแสดง ขณะเดียวกันยังสามารถนำบล็อกพลาสติกดังกล่าวไปผลิตเป็นเก้าอี้ เพื่อใช้สอยในรูปแบบอื่นต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน