คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

[email protected]

ขอความรู้เรื่องเรือนมุสลิมทางใต้ มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง และโครงสร้างคร่าวๆ อย่างไร

ภัทร

ตอบ ภัทร

จากเอกสาร เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย เขต รัตนจรณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดพิมพ์ ว่าด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบของเรือนไทยมุสลิม ระบุว่า การปลูกสร้างเรือนไทยมุสลิม การก่อสร้างเรือนมิได้มีการเขียนแบบใดๆ ไว้ล่วงหน้า ช่างพื้นบ้านจะสร้างเรือนโดยอาศัยประสบการณ์ในการกำหนดผังเรือน ขนาดและรูปแบบของเรือน โดยเรือนที่สร้างเสร็จแล้วจะใช้สีน้ำมันทาไม้ ผนังและพื้น

และต่อไปนี้คือองค์ประกอบสำคัญหลักๆ ของเรือนไทยมุสลิม ขอสรุปแยกเป็นข้อๆ 1.ฐานเสาเรือน ไม่ใช้เสาเรือนปักลงดิน แต่ใช้ฐานคอนกรีตสำเร็จรูปรองรับเสาของเรือน 2.เสาเรือน ใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นเสาสี่เหลี่ยมวางบนฐานคอนกรีตสำเร็จรูป 3.บันได เรือนไทยมุสลิมส่วนมากจะมีบันไดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเรือน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามวัสดุที่ใช้ คือบันไดที่ทำด้วยไม้ กับบันไดที่ทำด้วยปูนซีเมนต์ 4.ชานโล่ง จากบันไดก่อนขึ้นสู่ตัวเรือนมักจะทำลานโล่ง แต่ไม่มีการกั้นราวรอบๆ 5.ซุ้มประตู แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือซุ้มประตูทางเข้าบ้าน และซุ้มประตูทางเข้าเรือน
2
6.เฉลียง คือส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของเรือน พื้นที่ส่วนมากเป็นที่สำหรับพักผ่อนและพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นไม้กระดาน ระดับของพื้นต่ำกว่าระดับพื้นในเรือน 7.พื้นเรือน ใช้ไม้กระดานปูตามยาวของเรือน บางเรือนใช้เสื่อน้ำมัน 8.ฝาผนัง มีการใช้วัสดุต่างๆ ในการทำฝาผนังตามฐานะและประโยชน์ใช้สอย เช่น ไม้ไผ่ หวาย สังกะสี หรือไม้สำหรับบ้านที่มีฐานะ ส่วนฝาผนังของเรือนเก่าแก่จะใช้ไม้กระดานแผ่นกว้างแบ่งเป็นช่วงแบบลูกฟัก ตกแต่งด้วยลายแกะสลักฉลุโปร่ง 9.หน้าต่าง เรือนไทยมุสลิมไม่นิยมเจาะหน้าต่าง อาจเพราะฝนชุก ถ้ามีหน้าต่างก็จะใช้แบบบานเปิดออกทั้ง 2 บาน 10.ประตู ประตูทางเข้าเรือนนิยมใช้แบบบานเฟี้ยมในบ้านขนาดใหญ่ ส่วนบ้านขนาดเล็กนิยมใช้แบบบานคู่ 1 ช่อง

11.ฝ้าเพดาน เรือนไทยมุสลิมไม่ทำฝ้าเพดาน จึงสามารถมองเห็นโครงหลังคาของเรือนได้ชัดเจน 12.หลังคา โครงสร้างของหลังคาส่วนมากใช้ไม้ระแนง นิยมใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคา 13.หน้าจั่ว เรือนไทยมุสลิมนิยมตกแต่งหน้าจั่วเป็นลักษณะต่างๆ เช่น รูปรัศมีดวงอาทิตย์ เขียนสีเป็นลวดลายดอกไม้ หรืออักษรอาหรับ ส่วนยอดจั่วนิยมตกแต่งเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน ตรงปลายมุมแหลมของยอดจั่วจะทำเป็นเสาขนาดเล็กทำด้วยไม้กลึงและปูนซีเมนต์ ด้านหน้าทั้ง 2 ข้างของเสายอดจั่วตกแต่งด้วยลวดลายฉลุ 14.ปั้นลม ส่วนมากใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเส้นตรงบรรจบกันที่มุมแหลมของยอดจั่ว ส่วนปลายล่างของปั้นลมตัดตรงไม่ทำลวดลายอะไร
3
15.สันหลังคา ใช้กรอบกระเบื้องและปูนในส่วนปลายของสันหลังคาที่เทลงมา การตกแต่งส่วนมากทำกันในเรือนที่มีหลังคาทรงปั้นหยา 16.เชิงชาย เรือนไทยมุสลิมทั่วไปจะทำเชิงชายเรือนธรรมดา แต่บางเรือนทำลวดลายฉลุไม้รอบตัวเรือน 17.ยุ้งข้าว ในจังหวัดปัตตานีมักสร้างยุ้งข้าวเก็บข้าวต่างหากไว้ข้างตัวเรือน 18.บ่อน้ำ ที่ตั้งของบ่อน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเรือน 19.ที่อาบน้ำ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกจะใช้แผ่นหินหรือซีเมนต์ปูพื้นข้างบ่อน้ำเป็นที่อาบน้ำ อีกลักษณะกั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้มะพร้าวหรือสังกะสี 20.ส้วม ในอดีตบ้านของชาวไทยมุสลิมไม่มีการสร้างส้วมในบริเวณบ้าน

21.เสาแขวนกรงนกเขาชวา ใช้ไม้ไผ่เป็นลำยาวปักบนพื้นดินบริเวณหน้าบ้านหรือข้างบ้าน ความสูง 4 เมตรขึ้นไป ปลายสุดของเสาจะทำเท้าแขนยื่นออกมา ปลายของเท้าแขนติดรอกร้อยเชือก เป็นรอกชักกรงนกเขาสู่ยอด 22.กรงเพาะพันธุ์นกเขาชวา จะพบเห็นอยู่ในบริเวณบ้าน โดยสร้างกรงนกเขาชวาเป็นแถวยาว มีลักษณะเป็น กรงหลังคาทรงจั่ว มุงด้วยสังกะสี หรือกระเบื้องดินเผา เสาเป็นเสาเดี่ยว ที่เสาทาน้ำมันป้องกันมด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน