“ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์”

เมื่อคิดถึงงานสถาปัตย กรรมก็มักจะนึกถึงอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใหญ่โต สวยงาม มั่นคง แข็งแรง และแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ของผู้สร้างอาคารนั้น

เมื่อคิดถึงงานสถาปัตยกรรมไทยก็มักจะนึกถึงวัดวาอาราม ปราสาท ราชวัง อาคารที่ทำการของหลวง บ้านคฤหาสน์ของคหบดีที่มีสิ่งตกแต่งประดับประดา มีคติ มีสัญลักษณ์ บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งาน บ่งบอกถึงฐานะทั้งทางสังคมและอำนาจทางการเมือง

ในมุมมองของฝ่ายสังคมนิคม สถาปัตยกรรมมีความหมายมากไปกว่านั้นว่า

“งานสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โตคือ ผลงานที่แสดงถึงอำนาจของการขูดรีด ทรัพยากร และแรงงานของชนชั้น เพื่อจารึกถึงความเป็นตัวตน เพื่อยืนยันของจิตใต้สำนึกอันผูกติดกับความเป็นนิรันดร์ที่ไม่มีวันสิ้นหาย”

และถ้ามองจากบางส่วนของผู้คิดว่าตัวเองเป็นพุทธศาสนิกชน เราอาจได้ทราบถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างศาสนสถานอย่างใหญ่โต เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับการกระทำบางประการของผู้สร้างหรือในภาษาชาวบ้านก็คือ “การไถ่บาป”

ดังนั้น เราจึงได้ยินตำนานการสร้างสถูปเจดีย์อันยิ่งใหญ่เพื่อไถ่บาปจากความผิดบาปที่ได้ทำ เช่น การสร้างเจดีย์ของพญากงผู้ทำปิตุฆาตต่อพญาพาน ผู้เป็นพ่อ เป็นต้น

ในมุมมองทางสังคม งานทางสถาปัตยกรรมบางส่วน เช่น การสร้างศาสนสถานที่ใหญ่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ เจดีย์มหาธาตุทั้งหลายมีความหมายและสัญลักษณ์ที่มากขึ้นไปอีกก็คือ การแสดงถึง “ความเป็นศูนย์อำนาจของนครรัฐต่างๆ ในภูมิภาค”

ดังนั้น บรรดาสถูป เจดีย์ อันมีความหมายดังกล่าว ก็คงจะได้ยกมาเล่าขานเรื่องราวและการสอดแทรกทั้งสัญลักษณ์และความหมายทางศาสนาและสังคมกันต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน