วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2563
08.30 น. ลงทะเบียน ณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (มีบริการ Snack Box)

09.00 น.

ชม วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ หรือเจ้าสัวโต (ต้นสกุล กัลยาณมิตร) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง ได้อุทิศบ้านเรือนและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียง แล้วสร้างวัดขึ้นใน พ.ศ. 2368 โดยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ช่วยสร้างพระวิหารหลวงและพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์ให้ ต่อมาทรงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดกัลยาณมิตร” เข้าชมจุดสำคัญ ดังนี้

· พระเจดีย์ทรงถะยอดปรางค์ เป็นพระเจดีย์แบบจีน ออกแบบสร้างเป็นอาคารแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ส่วนยอดทำเป็นปรางค์แบบไทย ส่วนฐานมีซุ้มที่มีประติมากรรมศิลารูปพระอรหันต์ 16 องค์

· พระวิหารหลวง สักการะ “พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือหลวงพ่อโต (ซำปอกง) พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ปางมารวิชัย ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมืองอย่างเช่นวัดพนัญเชิงวรวิหาร พร้อมฟังเกร็ดประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิด “ใบเซียมซีภาษาไทย” ที่แรกในประเทศไทย ณ วัดกัลยาณมิตรแห่งนี้

· พระอุโบสถ สักการะพระประธานปางปาลิไลย์ ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทานเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ถือเป็นพระอารามเดียวในประเทศไทย ที่มีพระพุทธรูปหล่อสำริดปางปาลิไลยก์ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ จากนั้นชมจิตรกรรมฝาผนังที่ไม่ได้เขียนขึ้นเป็นแค่เพียงภาพนิทานพุทธประวัติ แต่ช่างเขียนยังได้บันทึกเหตุการณ์ระทึกในหน้าประวัติศาสตร์ถึง 2 เหตุการณ์ ที่เป็นเรื่องโจษจันกันไปทั่วทั้งพระนครในสมัยรัชกาลที่ 3

· พระวิหารน้อย สักการะพระพุทธดิลกโลกเชษฐ์ พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย พร้อมชมจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระอดีตพุทธเจ้า และฟังประวัติการค้นพบภาพเขียนบุคคลสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ “หมอบรัดเลย์และภรรยา” มิชชันนารีชาวอเมริกันคนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์สยาม

· หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเป็นหอเก็บพระไตรปิฎกและคัมภีร์ของวัด โดยตั้งอยู่บนตำแหน่งที่เคยเป็นที่จอดแพของเจ้าขรัวเงินและกรมพระศรีสุดารักษ์ ผู้เป็นขรัวตาขรัวยายของพระองค์ จากนั้นชม ตู้พระไตรปิฎก ทรงจตุรมุขขนาดใหญ่ที่ประดับตกแต่งด้วยลวดลายพรรณพฤกษาแบบตะวันตกงานช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 4

12.30 น. เสร็จสิ้นกิจกรรม


คลิกจองทัวร์ >> https://bit.ly/3kLhA8c

***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก***

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน