ใครส้มหล่น หากอนุทินแบล็คลิสต์อิตาเลียนไทย-ช.การช่าง โครงการไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน

อนุทินนั่งหัวโต๊ะทุบไฮสปีด 3 สนามบิน ยื่นคำขาด CPH และพันธมิตรประกอบด้วยอิตาเลียนไทยและ ช.การช่าง ต้องลงนาม 15.ตค มิเช่นนั้น ถือว่าจบดีล ทั้ง อิตาเลียนไทย และช.การช่าง จะถูกแบล็คลิสต์ ไม่ให้รับงานภาครัฐ หากเป็นเช่นนายอนุทินกล่าว เท่ากับซิโนไทยจะมีความแข็งแกร่งสูง เพราะเข้าร่วมประมูลในกลุ่มบีทีเอส และมีลุ้นเสียบแทนเมกะโปรเจกต์

นับว่าหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเร่งรัดการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เบอร์สามอย่างซิโน-ไทยซึ่งอยู่ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และระบบคมนาคมได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ถึงแม้ว่า หากจัดอันดับแล้ว “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ธุรกิจใต้ปีก ตระกูลชาญวีรกูล จะเป็นอันดับ3 รองจาก อิตาเลียนไทย และช.การช่าง แต่จะสังเกตว่า ทั้งอิตาเลียนไทย และ ช.การช่าง ต่างมีรายได้ที่ลดลง ส่วนทางบริษัทอันดับสามอย่างซิโน-ไทยเติบโตมีกำไร โดยซิโน-ไทยมีรายได้รวม 28,000.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,810.33 ล้านบาท จากปี 2560 ที่มีรายได้รวม 21,190.58 ล้านบาท 3,000 ล้านบาท ซึ่งได้โครงการรัฐตุนในมือหลายโครงการ เช่น สร้างอาคารรัฐสภาที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป ยังมีงานด้านคมนาคมล้นหน้าตัก ทั้งรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองที่นอกจากจะลงแรงยังร่วมลงขันกับ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี รวมถึงสายสีเขียว รถไฟทางคู่ และสายสีส้ม ทำให้ซิโน-ไทยมีลุ้นขึ้นชิงตำแหน่งเบอร์ 1 กับอิตาเลียนไทย หรือ ช.การช่าง หากบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่สะดุดในโครงการเมกะโปรเจกต์ย่างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้ซิโน-ไทยที่ร่วมกับบีทีเอส จะมีโอกาสลุ้นเสียบแทนกลุ่มผู้ชนะการประมูลซึ่งประกอบด้วยอิตาเลียนไทยและ ช.การช่าง

โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาขีดเส้นว่า วันที่ 15 ต.ค. กลุ่ม CPH มาลงนามสัญญาก่อสร้างแน่นอน เพราะถ้าหากไม่มา จะต้องโดนแบล็คลิสต์จากรัฐ เป็นการเสียชื่อบริษัท ยิ่งกว่านั้น มันหมายถึงว่านอกจาก CP แล้ว กลุ่มบริษัทที่ร่วมทุนทั้ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.ช.การช่าง และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก็จะได้รับผลกระทบในการประมูลงานรัฐในอนาคตด้วย!! ซึ่งหากเป็นไปตามที่นายอนุทินกล่าว จะถือว่าส้มจะหล่นไปที่ซิโน-ไทยทันที เพราะหากอิตาเลียนไทย และ ช.การช่างถูกแบล็คลิสต์ตามที่นายอนุทินกล่าว จะทำให้ซิโน-ไทยขึ้นมาเป็นผู้นำในก่อสร้างทันที ซึ่งถือได้ว่าซิโน-ไทยเป็นบริษัทเก่าแก่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นรายแรกในเมืองไทย

ทั้งนี้ บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 โดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล โดยเริ่มเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจแปรสภาพโครงสร้างเหล็กที่ใช้เทคนิคการเชื่อมและดัดแปลงขั้นพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2510 ได้เข้าสู่รูปแบบบริษัท และได้ขยายธุรกิจสู่งานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2536 เข้าสู่การแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน