เปิดกระบวนการเรียนรู้ เบื้องหลังปั้น เด็กเกม ม.กรุงเทพ คว้าชัย Game Dev

หากพูดถึงเบื้องหลังการสร้างผลงานที่โดดเด่น จนได้รับรางวัลการันตีความสามารถ จะทำให้เห็นเส้นทางการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนคิดวิเคราะห์จากเจ้าของผลงาน ทั้งหมดสะท้อนถึงกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ด้วยแนวคิด Creativity+Technology ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แนวทางการเรียนรู้ที่จะไม่ทำให้ใครตกยุค

การเรียนการสอนดังกล่าว สะท้อนผ่านผลงานของ เด็กเกม BU โดย สันติภาพ ล้ำเหลือ (โอเว่น) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ นรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม) ชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาเกม และสื่อเชิงโต้ตอบ ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ตามแนวคิด C+T มาตั้งแต่เริ่มเข้ามาเรียนปี 1 โดยคณาจารย์ของคณะจะติดตามนักศึกษาทุกชั้นปีเป็นรายบุคคลเพื่อให้คำแนะนำวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะกับแต่ละคน

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ผลงานเกม “Dissolve Space” ในรูปแบบ Si-Fi Shooting Adventure ใช้เทคโนโลยี VR สร้างความตื่นตาได้เสมือนจริง https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/460 สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้โจทย์ Thailand 2077 ของทีมโอเว่นและอาร์ม ได้รับรางวัลชนะเลิศในรายการแข่งขันนักพัฒนาเกม Gaming Dev BootCamp โดยใช้โปรแกรม Unity เล่นเกมผ่านอุปกณ์ VR

นรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม) ที่ได้รับการบ่มเพาะทักษะการทำงานรอบด้านจากแนวคิด C+T โดยคณาจารย์ของคณะทำหน้าที่เป็น Facilitator เป็นผู้สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้และให้คำแนะนำ นักศึกษาทุกคนจะได้รับการเจียระไนกรอบความคิดและทักษะในเชิงวิชาการและการลงมือปฏิบัติผ่านการลงมือพัฒนาเกมตั้งแต่เริ่มเรียนปี 1 มหาวิทยาลัยเปิดเวทีแข่งขัน BU Game Jam เพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์การทำงานจริงร่วมกับภาคธุรกิจ พร้อมส่งเสริมการเพิ่มประสบการณ์ภายนอกมหาวิทยาลัย

นรภัทร ลาภชูรัต (อาร์ม)

อาร์ม เล่าว่า ตัวเองมีความถนัดในเรื่องเทคโนโลยีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การมาเรียนที่ม.กรุงเทพ ยังได้เรียนรู้เทคโนโลยีทันสมัยที่ธุรกิจเกมตัวจริงใช้กัน ทั้งยังเปิดโอกาสให้เรียนข้ามศาสตร์ข้ามคณะกันด้วย เพราะการจะเป็นนักพัฒนาเกมที่มีความสามารถจะต้องเรียนรู้ศาสตร์ในหลายด้าน

ทั้งนี้ จุดเด่นของผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ คือความคิดสร้างสรรค์ในการวางคอนเซ็ปต์ งานดีไซน์ ทักษะการเล่าเรื่อง และวิธีการนำเสนอผลงานเกมซึ่งมีความโดดเด่นมากที่สุดในทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด

“ผมมาทราบทีหลังว่าคณะกรรมการตัดสินเห็นตรงกันว่าการเล่าเรื่องของเกมทำออกมาได้ดี การนำเสนอเกมกระชับและเข้าใจง่าย ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นเพราะนักศึกษาไอทีได้เรียนรู้ในวิชา storytelling ของคณะนิเทศศาสตร์ ทำให้เรารู้จักกระบวนการคิดและการเล่าเรื่องที่ดีมีกลยุทธ์ในการนำเสนองาน”

ยังมีรายวิชาต่างคณะที่คนไอทีได้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่น วิชาการสร้างผู้ประกอบการ ของคณะ BUSEM และวิชาการจัดการ ของคณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น การเรียนรู้ในแบบนี้สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี และมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

C+T ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีเรียนใหม่ ใช้การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำงานจริง (Project Based Learning) การรวมทีมทำงานทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนทักษะการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน จึงทำให้งานที่ออกมานั้นสมบูรณ์แบบมากขึ้น การทำงานในแต่ละโปรเจกต์จะฝึกผู้เรียนให้สามารถใช้เทคโนโลยีเป็น รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ โดยมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่เป็นโค้ชให้คำแนะนำ

สันติภาพ ล้ำเหลือ (โอเว่น)

สันติภาพ ล้ำเหลือ (โอเว่น)

แนวคิด C+T ถูกนำไปใช้สร้างกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับทุกคณะของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเพื่อให้สอดรับกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป ในปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ 4 หลักสูตร ได้แก่ 1.คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตร Creative Content Production and Digital Experience 2. คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตร Broadcasting and Streaming Media Production

3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร Artificial Intelligence Engineering and Data Science และ 4.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตร Computer Science – Data Science and Cyber Security ทั้งหมดนี้คือการก้าวไปข้างหน้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายของอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นใจ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน