เมื่อวันที่ 3 เม.ย. UNILAD รายงานว่า โคล เจนนิ่ง-ไวท์ หญิงใหญ่วัย 58 ปี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมืองยูทาห์ ประเทศอเมริกา ป่วยเป็นโรคหายาก “Body Integrity Identity Disorder (BIID)” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรคอยากกำจัดอวัยวะของตัวเอง”

โคลเป็นเหมือนกับผู้ป่วยโรคอยากกำจัดอวัยวะตัวเองคนอื่นๆ เธอพบว่ามันยากที่จะยอมรับอวัยวะบางส่วนของร่างกายตัวเอง และปรารถนาให้มันหายไปหรือป่วยเป็นอัมพาต เธอเชื่อว่าขาทั้งสองข้างไม่ได้เป็นของเธอ โคลมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นอัมพาตตั้งแต่ช่วงเอวลงไป

โคลตระหนักได้ว่าเธอแตกต่างจากคนอื่นตั้งแต่อายุ 4 ขวบ เมื่อเธอเห็นโอลีฟ คุณป้าของเธอใช้เครื่องพยุงขา

จากการสัมภาษณ์ในรายการ Barcroft TV โคลอธิบายว่า

“ฉันต้องการมันเหมือนกับป้าของฉัน ฉันสงสัยว่าทำไมฉันไม่เกิดมาเป็นแบบนั้น และรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติกับตัวฉันเพราะว่าฉันไม่สามารถใช้เครื่องพยุงขาได้”

“เสียงในหัวบอกกับฉันว่าขาของฉันไม่ควรจะเดิน ฉันรู้สึกว่ามีบางอย่างในขาของฉันที่ผิดปกติ”

เธอใช้ผ้าพันแผลพันตัวเองอย่างเป็นความลับมาหลายปี ปัจจุบันโคลเปิดเผยความป่วยของเธอ แม้ว่าจะได้รับการดูถูก

ตั้งแต่เด็ก โคลพยายามที่จะทำให้ตัวเองบาดเจ็บนับครั้งไม่ถ้วน ตอนอายุเก้าปี เธอขี่จักรยานออกไปที่ความสูงสี่ฟุตจากเวทีการแสดง จากนั้น โคลตัดสินใจปีนต้นไม้ หรือใช้เวลาในกีฬาที่เสี่ยงอันตรายอย่างการเล่นสกีลงจากเขา ด้วยหวังว่าเธอจะบาดเจ็บที่ขา เธออธิบายว่า

“ฉันเล่นสกีด้วยความเร็วมาก และหวังว่าจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น การทำสิ่งที่ให้โอกาสในการพิการกับฉัน ทำให้ฉันคลายความกังวลจากโรคอยากกำจัดอวัยวะตัวเอง”

“เพื่อนๆ และครอบครัวฉันกังวลในการเล่นสกีของฉัน เท่าที่พวกเขารู้ฉันเล่นสกีอย่างเกรี้ยวกราดและพวกเขารู้ว่าฉันต้องการที่จะพิการ”

อุบัติเหตุจากสกีที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ทำให้โคลเลิกเล่นสกีด้วยเหตุผลว่าเธอได้รับบาดเจ็บที่หลัง และได้รับเครื่องพยุงขา

แต่โคลยังคงคิดเกี่ยวกับความเสียหายที่มากกว่านั้นที่ขาของเธอ คิดแม้กระทั่งอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บยกเว้นเธอเอง

การค้นพบสังคม BIID ออนไลน์ ทำให้โคลตระหนักได้ว่าเธอไม่ได้อยู่เพียงลำพัง เธอกล่าวว่า

“มันเป็นการผ่อนคลายที่ดีมาก ฉันไม่เป็นตัวประหลาด ในนั้นมีคนเป็นร้อยที่เหมือนฉัน”

ในปี 2008 โคลได้รับการวินิจฉัยว่าเธอมีอาการป่วย ไมเคิลผู้เป็นจิตแพทย์แนะนำเธอเป็นอย่างแรกให้เธอใช้รถเข็นผู้ป่วย ซึ่งโคลเชื่อว่าการใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนรถเข็นสามารถช่วยเธอได้

“มันทำให้ฉันผ่อนคลายจากโรค ฉันรู้ว่ามันยากจะเข้าใจสำหรับคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอยากกำจัดอวัยวะตัวเอง แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่พวกเรารู้สึก”

“ฉันไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อคนในครอบครัวได้ ดังนั้นฉันแค่ใช้รถเข็นผู้ป่วยเท่าที่ฉันสามารถทำได้”

โคลยังคงมีความฝันเกี่ยวกับการได้เป็นผู้พิการ กระทั่งไปหาแพทย์ที่ต่างประเทศในปี 2010 ผู้ที่เสนอว่าจะช่วยตัดเส้นประสาทต้นขาให้เธอ อย่างไรก็ตามเธอไม่สามารถหาเงินจำนวน 16,000 ดอลลาร์สหรัฐมาเป็นค่าใช้จ่ายได้

ดร.มาร์ค มาลัน จิตแพทย์ที่รักษาโคลเชื่อว่าการให้รถเข็นผู้ป่วยกับผู้ป่วยโรคอยากกำจัดอวัยวะตัวเองเป็นหนทางการรักษาที่ดี แต่ยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมจนกว่าจะสำเร็จ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน