bud01231159p3

5.เหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เหรียญกำลังแผ่นดิน พ.ศ.2519

“เหรียญพระไพรีพินาศ” และ “พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างขึ้น

“เหรียญพระไพรีพินาศ” พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ

ส่วน “พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” สำหรับพระราชทานแก่หน่วยทหาร เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของทหาร ณ ฐานที่ตั้ง

ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2518

bud01231159p1

6.พระพุทธกษัตราภิมงคล และวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี ณ วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก “พระพุทธรูปบูชาพระพุทธรูปขนาดเล็ก” และ “เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล” ที่จำลองจาก “พระพุทธรูปปางลีลา” องค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดกษัตราธิราช จัดสร้างขึ้นเมื่อครั้งมีงานฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี ของ หลวงปู่เทียม สิริปัญโญ หรือ พระวิสุทธาจารเถร อดีตเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2519

bud01231159p2

7.เหรียญพระแก้วมรกต ภปร เฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี

เหรียญพระแก้วมรกต ได้จัดสร้างในคราวฉลองพระนครครบ 200 ปี เมื่อปี พ.ศ.2525 เพื่อจัดหาทุนบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง

แต่ปรากฏว่า ไม่เพียงพอต่อความต้องการประชาชน คณะกรรมการอำนวยการการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง เฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี จึงได้มีการสร้างเหรียญพระแก้วมรกตเพิ่มอีก พร้อมกับนำความกราบบังคมทูลขอพระพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเพิ่มเติม จากจำนวนที่ได้ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2524

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะอำนวยการจัดสร้างเพิ่มขึ้นและให้เพิ่มเติมคำว่า “พระราชศรัทธา”ภายใต้ “พระปรมา ภิไธยย่อ ภปร” และให้ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งในวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2524 โดย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” และ “สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จฯทรงประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกเฉกเช่นครั้งแรก

8.พระกริ่งปวเรศ-พระชัยวัฒน์ปวเรศ ที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ “พระนักษัตร 60 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2530”

วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเพื่อร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พระนักษัตร 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์, ถวายวัดบวรนิเวศวิหาร, ถวายวัดญาณสังวรารามมหาวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งเป็นทุนค่าใช้จ่ายในการแกะสลักพระพุทธรูปใหญ่ ณ เขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม ซึ่งพระพุทธรูปใหญ่องค์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อเดือนธันวาคม 2528 จากนั้น วัดบวรนิเวศวิหาร ได้กำหนดมหามงคลฤกษ์ในระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2529

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน