พระพุทธไสยาสน์วัดพระพุทธไสยาสน์ : คอลัมน์คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

พระพุทธไสยาสน์วัดพระพุทธไสยาสน์ – เพชรบุรี หรือ เมืองพริบพี ในอดีต เป็นเมืองท่า ชุมชนเก่า ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทวารวดี เป็นเมืองปลายเขตแดนของภาคกลางตอนใต้ที่ หัวเมืองที่ต่อจากเพชรบุรีไปนั้นเรียกว่า หัวเมืองปักษ์ใต้

ด้วยเหตุที่เป็นเมืองท่า เป็นชุมชนทางการค้าฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ จึงมีผู้คนเคลื่อนย้ายเข้าออกตลอดเวลา ทั้งชาวมอญ ชาวจีน ชาวลาว และชาวไทพื้นถิ่นดั้งเดิม ที่ปะปนกัน เพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่มั่งคั่งร่ำรวย มีงานสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่ทรงคุณค่าทางศิลปะ หรือ ช่างฝีมือชั้นยอดของประเทศยังมีช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างแกะ ช่างปูนที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

พระพุทธไสยาสน์วัดพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์วัดพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาสน์ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปที่มีความยาวตั้งแต่พระเศียรถึงพระบาทประมาณ 43 เมตร นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่โตองค์หนึ่งที่ไม่ปรากฏผู้สร้าง

เมื่อเปรียบเทียบกับรูปทรงพระอุโบสถซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระพุทธรูปองค์นี้ก็น่าเปรียบเทียบว่าอยู่ในยุคอยุธยาด้วยกัน แต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้สร้าง ด้วยเหตุที่เมืองเพชรบุรีอยู่ชายเขตแดนของภาคกลาง จึงไม่มีการบันทึกประวัติของชุมชนมากพอที่จะรู้วัตถุประสงค์ของการสร้างศาสนสถานแห่งนี้

งานหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตที่เรามักจะเชื่อกันว่าจะเป็นงานที่สร้างบุญกุศลอย่างสูงแก่ผู้สร้าง จะซ่อนเจตนารมณ์ของจิตใต้สำนึกบางประการ ก็คือการประกาศความยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง และเพื่อชดเชย ทดแทนอกุศลกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ใน อดีตด้วย

องค์พระพุทธรูปนอนประทับในอิริยาบถตะแคงขวา พระเศียรหันไปทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่กลางแจ้งบนแท่นประทับที่มีระดับสูง แยกองค์วิหารที่มีผนังด้านหลังออกจากกำแพงแก้วของพระอุโบสถ ตัววิหารสร้างหลังคาคลุมองค์พระด้วยสังกะสี ในสมัยรัชกาลที่ 4 และเพิ่มเติมการปฏิสังขรณ์องค์วิหารทั้งหมดในสมัยรัชกาลที่ 5

สันนิษฐานเป็นคติ สัญลักษณ์ของปางปรินิพพาน จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเทศนาปัจฉิมเทศนา มหาปรินิพพานสูตร เช่นเดียวกับพระนอนวัดพนมยงค์ .พระนครศรี อยุธยา

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน