พระนั่ง วัดพระแก้ว ปางขอฝน

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระนั่ง วัดพระแก้ว ปางขอฝน : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม – พระพุทธรูปที่วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม กรุงเทพฯ องค์นี้เป็นพระพุทธรูปขนาดธรรมดาที่มิใช่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั่วไปและก็มิใช่เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่จัดสร้างขึ้นจำนวนมากและบรรจุอยู่ในวิหาร

ซึ่งเป็นคติหรือสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้อุบัติขึ้นมาในจักรวาลทัศน์นี้มีจำนวนประมาณเท่ากรวดทรายในมหาคงคานที

พระนั่ง วัดพระแก้ว ปางขอฝน

พระคันธารราษฎร์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดให้สร้างหรือหล่อขึ้นในปีพ.ศ.2326 เป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระหรืออก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายลงบนพระเพลาเป็นกิริยารับน้ำ เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน คือปางขอฝน

ภายหลังได้หล่อเป็นพระยืนขึ้นอีกองค์หนึ่ง แต่ก็มีการสร้างพระพุทธรูปปางขอฝนกันอีกหลายแบบหลายองค์

พระนั่ง วัดพระแก้ว ปางขอฝน

พระคันธารราษฎร์นี้จะใช้เป็นพระประธานในพิธีที่เรียกว่าพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเดิมเป็นพิธีของพราหมณ์ที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยที่กระทำกันในเดือนไทยเรียกเดือน 9 หรือประมาณเดือนกรกฎาคม เพื่อบวงสรวงเทพยดาขอให้ฝนตก โดยอ้างอิงไปกับพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า

พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะอนุเคราะห์แก่มหาชนชาวสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนขาดแคลนน้ำทั้งการอุปโภคและบริโภค พระองค์จึงทรงผ้าอาบน้ำฝน และเสด็จประทับ ณ บันไดสระ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นกวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองน้ำฝน ซึ่งได้บังเกิดฝนตกขึ้น

พระพุทธรูปปางขอฝนจึงเป็นพระพุทธรูปมีคติเป็นรูปเคารพที่มีการ กราบไหว้ขอพร ขอลาภ มิใช่เป็นพระพุทธรูปที่แสดงถึงการสอนหรือ แสดงธรรมะ อย่างเช่นปางปฐมเทศนาหรือปางปรินิพพาน

อ่าน : เจดีย์ทรงปราสาทยอด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน