ชนชั้นของสัตว์โลก (3)

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์

โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ชนชั้นของสัตว์โลก (3) – จากแนวพื้นฐาน 4 ชั้นล่างสุดของสถูปหรือเจดีย์ที่มีความหมายหรือสัญลักษณ์ของอบายภูมิหรือสัตว์โลก 4 ลำดับ นรก ที่หมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในภาวะของการรับผลกรรมทั้งทางกายและใจ ในการกระทำผิดทางกายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

เปรต ที่หมายถึงผู้ที่มีจิตใจ ปรารถนา ที่เต็มไปด้วยความโลภ แย่งชิงทรัพย์สินทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นประโยชน์ของตน

อสุรกาย ที่หมายถึงผู้สร้างความหวาดกลัว หวาดระแวง ข่มขู่ ผู้อื่น ผู้ที่ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้

เดรัจฉาน คือกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ

ชนชั้นของสัตว์โลก (3)

ในส่วนที่เหนือขึ้นไปจะมีสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม 2 แบบ คือ

แบบที่มีชั้น 4 ชั้น ตามรูปแบบที่แสดงหรือบางกรณี หมายถึง ตัวองค์เจดีย์ก็ดี ส่วนนี้หมายถึงมนุษย์ภูมิ ที่ยังรวมอยู่ในกลุ่มของมนุษย์โลก

การเป็นมนุษย์นั้น ความหมายในทางพุทธศาสนาแตกต่างกับความหมายทางชีววิทยาอยู่บางประการ ที่ทางชีววิทยาจะกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและกระบวนการรับรู้ รู้สึก หรือประสิทธิภาพของความคิดการพัฒนาอุปกรณ์ของการดำรงชีวิตเป็นสำคัญ

ทางพุทธศาสนาจะแบ่งมนุษย์ใน 2 ลักษณะ

ลักษณะที่ 1 เรียกว่า เวไนยสัตว์ หมายความว่า เป็นสัตว์ที่สอนให้รู้สิ่งชั่วดีได้ เปรียบเป็นดั่งดอกบัว คือ ดอกบัวที่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน หมายถึงมนุษย์ที่พร้อมจะรู้เข้าใจธรรมชาติ รู้เข้าใจภาวะของความจริงขั้นปรมัติสัจจะ

ชนชั้นของสัตว์โลก (3)

ดอกบัวที่จะพ้นน้ำและจะบานเมื่อได้รับความรู้และเข้าใจธรรมชาติตามดอกบัวที่พ้นน้ำและพร้อมที่จะบานเมื่อได้รับการสั่งสอนและฝึกหัด

ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ หมายถึงมนุษย์ที่จะต้องได้รับการชี้แนะชี้นำ สั่งสอน ฝึกหัดอดทนอย่างสูงที่จะรับรู้เข้าใจในธรรมชาติก็คือการพัฒนาตนไปตามลำดับจนเป็นดอกบัวที่บาน

ลักษณะที่ 2 เรียกว่า อเวไนยสัตว์ หมายถึงสัตว์ที่สอนให้รู้ดีรู้ชั่วไม่ได้

ดอกบัวระดับล่างสุด ก็คือ อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อโอกาสที่จะเติบโต ไม่อาจจะรับรู้เรื่องราวของธรรมชาติหรือธรรมะได้ และในภาวะของความเป็นมนุษย์ระดับนี้ มนุษย์กลุ่มนี้มีพฤติกรรมแบบเดียวกับสัตว์โลกที่อยู่ในอบายภูมิ เรียกกันว่า มนุษย์ เดรัจฉาโน มนุษย์สเปโต

ส่วนกลุ่มข้างต้นเรียกว่า มนุษโส แปลว่ามนุษย์ที่ดีและสูงไปเท่านั้น เรียกว่า มนุษเทโว หรือมนุษย์ที่มีสภาพจะเป็นดั่งเทวดา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน