“จิตใจเรานี้ เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย” สารธรรมมงคล หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี …•

“หลวงพ่อบุญสาร สังวโร” พระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในพื้นที่ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม วัตถุมงคลสร้างขึ้นมาหลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปไข่รุ่นแรกปี 2517” รุ่นนี้ วัดป่ากุงโพธิสาร จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกศิษยานุศิษย์ที่ร่วมทำบุญก่อสร้างสาธารณูปโภคภายในวัด เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ สร้างประมาณ 3,000 เหรียญ

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

ลักษณะเป็นทรงรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนนั่งบนอาสนะเต็มองค์ ใต้รูปเหมือนเขียนว่า “หลวงพ่อบนสาร สํวโร” (ช่างแกะบล็อกผิดจากบุญ เป็นบน) ด้านหลัง บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า “วัดป่ากุงโพธิสาร” จากด้านซ้ายของเหรียญเขียนว่า “บ.โนนภิบาล อ.กิ่งแกดำ ต.โนนภิบาล จ.มหาสารคาม” ตรงกลางเป็นรูปเครื่องอัฐบริขาร เป็นที่นิยมและแสวงหา ค่านิยมยิ่งสูงขึ้นตามกาลเวลา

หลวงพ่อพิธ พระเกจิชื่อดังวัดฆะมัง ต.ฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร จากการสืบค้นประวัติไม่ปรากฏฉายานามทางสงฆ์แต่อย่างใด เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร สร้างสุดยอดเครื่องรางของขลังตะกรุดที่มีประสบการณ์พุทธคุณเลื่องลือ แต่ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญรุ่นแรกปีพ.ศ.2462 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบมะยม มีหูห่วง เนื้อทองแดง

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

เหรียญหลวงพ่อพิธ

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

ด้านหน้า ขอบเป็นจุดไข่ปลาล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “หลวงพ่อพิธ” ด้านหลังไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นยันต์อักขระโบราณ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ ทุกวันนี้ราคาเช่าหาค่อนข้างสูง

“เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม รุ่นแรก” ซึ่งเป็นเหรียญหลักยอดนิยมของวงการพระในปัจจุบัน นิยมเรียกขานว่า “พิมพ์หลังขอเบ็ด” สร้างเมื่อปีพ.ศ.2469 เพื่อบูรณะพระอุโบสถเก่าที่ชำรุด ทรุดโทรม ลักษณะเป็นทรงเสมา มีหู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิอยู่บนตั่งขาสิงห์ ล้อมรอบด้วยอักขระ “นะโม พุทธายะ”

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

เหรียญหลวงพ่อกลั่น

คอลัมน์รอบด้านวงการพระ - เหรียญหลวงพ่อบุญสาร

ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์ ด้านล่างเขียนว่า “ที่รฤกในการปฏิสังขรณ์อุโบสถ” เกือบยอดยันต์ตรงกลางเป็นตะขอ ที่มาของชื่อพิมพ์ “ขอเบ็ด” จำนวนการสร้างทั้งหมดเพียง 3,137 เหรียญ มีเนื้อเงินองค์ทอง 12 เหรียญ เนื้อเงินองค์นาก 25 เหรียญ เนื้อเงิน 100 เหรียญ และเนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ ปัจจุบัน เนื้อทองแดงเช่าหากันเป็นหลักแสน

อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน