“หลวงพ่อเดิม พุทธสโร” หรือ “พระครูนิวาสธรรมขันธ์” วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ พระเกจิชื่อดังภาคกลางตอนบน ได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว”

เกิดในสกุล ภู่มณี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ก.พ.2403 ช่วงวัยเยาว์ก่อนอุปสมบทนั้น บิดามารดานำเข้าไปหาพระหาวัด ซึ่งการศึกษาของชาวหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลางคือวัดหนองโพ

กระทั่งเมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ต.ค.2423 มีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ต.สระทะเล เป็นพระอนุศาสนาจารย์

ได้รับฉายาว่า พุทธสโร

รายงานพิเศษ - เปิดเครื่องราง‘มีดหมอ’ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

จากนั้นเดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ที่วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทางพระนวกะ ตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ รวมทั้งท่องบ่นพระคัมภีร์ต่างๆ

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิทยาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ หลังนายพันธ์ถึงมรณกรรม ได้ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ที่วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

เดินทางไปเรียนวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

หลังจัดสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายรุ่น จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง มีผู้เข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก

รายงานพิเศษ - เปิดเครื่องราง‘มีดหมอ’ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

รวมถึงขอให้รดน้ำมนต์ แป้งผง น้ำมัน ตะกรุด และผ้าประเจียด

ที่แพร่หลายที่สุดคือ แหวนเงินหรือนิกเกิล และผ้ารอบฝ่าเท้า ผ้าประเจียด เกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือ

นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัดมากมาย อาทิ สร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าอุโบสถ เป็นต้น

ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ 30 ธ.ค.2457

พ.ศ.2462 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา 20 ปี กระทั่งล่วงเข้าวัยชรามาก คณะสงฆ์ได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นตำแหน่งกิตติมศักดิ์

อย่างไรก็ตาม หลังกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม ต.พยุหะ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เริ่มอาพาธและมีอาการหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์ต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาล และเฝ้าอาการกันเนืองแน่น

รายงานพิเศษ - เปิดเครื่องราง‘มีดหมอ’ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

ในที่สุด ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 71 จัดพิธีพระราชทานเพลิงในวันที่ 30 ส.ค.2494

วัดหนองโพสร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะรูปเหมือนขนาดเท่าจริง จัดงานทำบุญประจำปี ปิดทองไหว้พระรูปเหมือนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

เมื่อครั้งยังมีชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง ล้วนแต่ได้รับความนิยม อาทิ เหรียญ นางกวัก ฯลฯ

ศึกษาวิชามีดหมอจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ต่อมาสร้างมีดหมอขึ้นมา

ยุคแรก สร้างมีดเล่มใหญ่ให้แก่ ควาญช้าง ซึ่งมีขนาดทั้งด้ามทั้งฝักยาวประมาณหนึ่งศอก ต่อมาจึงทำมีดให้มีขนาดเล็กลง ขนาดพอพกได้พอดีจนมาถึงมีดขนาดเล็ก พกใส่กระเป๋าเสื้อได้ในที่สุด

เนื้อเหล็กที่นำมาใช้ตีเป็นมีด จะมีส่วนผสมประกอบด้วยตะปูสังฆวานร ซึ่งเป็นตะปูในสมัยโบราณที่ใช้ยึดเครื่องไม้ในพระอุโบสถแทนตะปู ตะปูโลงผีที่สัปเหร่อเผาแล้วเก็บไว้ บาตรแตกชำรุด และเหล็กน้ำพี้ นำมาเป็นส่วนผสมใช้ตีมีด

รายงานพิเศษ - เปิดเครื่องราง‘มีดหมอ’ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

สำหรับช่างที่ตี เท่าที่ทราบเป็นฝีมือช่างฉิม ช่างไข่ และช่างสอน ซึ่งแต่ละช่างจะมีเอกลักษณ์ของตัวมีดต่างกันไป เมื่อช่างทำใบมีดเสร็จแล้วจะส่งต่อให้ช่างทำด้ามและฝักทำต่อส่วนที่เป็นตัวด้าม ถ้ามีดเล่มใหญ่จะมีด้ามเป็นงา และฝักเป็นไม้คูน ส่วนเล่มเล็กจะมีด้ามเป็นงาและฝักเป็นงา

จากนั้นส่งต่อไปให้ช่างทำเงินทำที่รัดปลอกมีดและด้ามมีด ช่างจะทำเงิน ทองหรือนากตามที่กำหนด โดยส่วนมากจะเป็นเงินเพียงอย่างเดียว

เมื่อทุกอย่างเสร็จ จะนำมาประกอบที่วัดหนองโพ โดยหลวงพ่อเดิมจะทำ ผงอิทธิเจไว้ให้ ผสมกับเส้นเกศาของหลวงพ่อที่ปลงในวันขึ้น 15 ค่ำ และแผ่นตะกรุด ที่เป็นเงิน ทอง นาก เป็นแผ่นเล็ก ลงอักขระ ตัดพอดีกับตัวกั้นของมีด บรรจุลงไปในด้ามมีดอุดด้วยครั่งจนแน่น หลังจากนั้นจึงนำมีดหมอไปปลุกเสกอีกครั้ง

ปัจจุบันของแท้หายากมาก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน