ทะลุคนทะลวงข่าว : เปิดตัวกมธ.ศึกษาแก้รธน.โภคินเพื่อไทย-‘บัญญัติปชป.ไพบูลย์ครม.ส่งประกวด

เปิดตัวกมธ.ศึกษาแก้รธน. : เปิดชื่อออกมาในฐานะตัวพรรค การเมืองและคณะรัฐมนตรี ร่วมเป็นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.. 2560 ตามสัดส่วนที่ได้รับจัดสรร

พรรคเพื่อไทยมีชื่อ โภคิน พลกุล, ประชาธิปัตย์มีชื่อ บัญญัติ บรรทัดฐาน ขณะที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) บรรจงเลือก ไพบูลย์ นิติตะวัน เข้าร่วม

ทั้ง 3 คน 3 ชื่อนี้มีแนวโน้มชิงชัยกันเพื่อนั่งเก้าอี้ประธานกมธ.วิสามัญฯ ชุดนี้เลยทีเดียว

โภคิน พลกุล อายุ 67 ปี

เกิด 15 เม.. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร

ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประกาศนียบัตรชั้นสูง กฎหมายมหาชน, ประกาศนียบัตรชั้นสูง ความรู้เกี่ยวกับโลกที่สาม และปริญญาเอก กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เริ่มรับราชการเป็นนายเวรสังกัดกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

โอนย้ายเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์

ลาออกมารับตำแหน่งทางการเมือง เป็นรมต.ประจำสำนักนายกฯ แล้วออกไปเป็นรองประธานศาลปกครองสูงสุด

เข้าพรรคความหวังใหม่ ตามด้วยพรรคไทยรักไทย

สมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้ตำแหน่งรองนายกฯ, รมว.มหาดไทย และประธานสภาผู้แทนราษฎร ปี 2548 ก่อนถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี

สมัยเลือกตั้ง 2557 สมัครระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11

กลับมาโดดเด่นในฐานะแคนดิเดต ประธานกมธ.ศึกษาแก้รธน.

กล่าวเปิดใจว่าตั้งใจให้ประเด็น ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ ตัวประธาน กมธ. เป็นเรื่องรอง อยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประชา ธิปไตยมากที่สุด ตั้งแต่การตั้ง ส... ไปจนถึงทำประชามติ จะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านก็ได้ยกร่างแก้ไขขึ้น แต่ไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2

คิดว่า กมธ. ที่เราจะเดินร่วมกันมีเรื่องที่ต้องพิจารณาใหญ่ๆ 3 ประเด็น คือ 1.ถ้าส..ไม่เอาด้วย แม้ฝ่ายค้านอยากแก้ ก็แก้ไม่ได้ หรือถ้ารัฐบาลไม่เห็นความจำเป็นก็แก้ไม่ได้ 2.มีบางมาตราที่เป็นปัญหาอยู่ และ 3.ควรเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ที่เราต้องมีรัฐธรรมนูญที่เราทุกคน รวมไปถึงพี่น้องประชาชน ได้ร่วมออกแบบเพื่อไม่ให้มีรัฐประหารอีกในอนาคต

สำหรับตำแหน่งประธานกมธ. พรรคเสนอชื่อตนก็พร้อม

บัญญัติ บรรทัดฐาน วัย 77 ปี

เกิด 7 .. 2485 ที่กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบแล้วรับราชการสำนัก งานเร่งรัดพัฒนาชนบท (...)

เข้าสู่วงการเมือง สังกัดพรรคประชา ธิปัตย์ เป็น ส.. 14 สมัย นับแต่ปี 2518 ครองพื้นที่สุราษฎร์ธานีมาโดยตลอด กระทั่ง 2544 ขยับเป็น ส..ระบบบัญชีรายชื่อ และส..สัดส่วน

เป็นรองหัวหน้าพรรคปี 2530 จนถึง 2546 ขึ้นชั้นหัวหน้าพรรค แทน ชวน หลีกภัย หลังหมดวาระไม่ประสงค์ นั่งเก้าอี้ต่อ

ลงจากหัวหน้าพรรคหลังการเลือกตั้ง 2548 ซึ่งประชาธิปัตย์พ่ายพรรคไทยรักไทยแบบไม่เห็นฝุ่น

เคยเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีหลายกระทรวง

ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค และส..บัญชี รายชื่อ

มีชื่อเป็น 1 ใน 4 ตามมติพรรคในการเสนอเป็น กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไข รธน. 2560 ร่วมกับสุทัศน์ เงินหมื่น, นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ และ เทพไท เสนพงศ์

ประชาธิปัตย์รับประกันคุณภาพ ฝีมือชื่อชั้นระดับอรหันต์กฎหมายรัฐ ธรรมนูญ

ไพบูลย์ นิติตะวัน อายุ 65 ปี

เกิด 15 .. 2497 ที่นครราชสีมา

ปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโทรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักธุรกิจเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากฟองสบู่แตก ปี 2540

เป็นนักกฎหมายคู่บุญอดีตผู้ว่าการ สตง. ที่รอดจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรม นูญ กรณีสถานะของผู้ว่าการ จนได้บำเหน็จรางวัลนั่งเก้าอี้ที่ปรึกษาสตง.

ได้เป็นกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยุคนั้น

สวมเสื้อส..แต่งตั้ง ยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญเอาผิดยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนพ้นจากนายกฯ กรณีโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช.

เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา

ประกาศหนุนพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งก่อนและหลังเป็นหัวหน้า คสช.

ตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป ลงเลือกตั้ง 24 มี..2562 สมัครปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 ผลการเลือกตั้งประชาชนปฏิรูปได้คะแนนรวมทั้งพรรค 4 หมื่นคะแนน ต่ำกว่าเกณฑ์พึงมีเป็นส..ที่ต้องได้ 7 หมื่นคะแนน แต่ไพบูลย์ได้เป็นส..เข้าสภาอย่างปาฏิหาริย์มหัศจรรย์จากสูตรคำนวณสุดพิสดารของกกต.

เป็นส..ในนามประชาชนปฏิรูป ไม่กี่เดือนก็เลิกพรรค แล้วย้ายตัวเองเข้า เป็นส..พลังประชารัฐ พรรคแกนนำรัฐบาล เมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา แต่ จนบัดนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่าไพบูลย์ เป็นปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่เท่าไหร่ของพลังประชารัฐ

ประกาศลั่นยินดีเข้ามาเป็นกมธ.ตามสัดส่วนของครม. มีความตั้งใจและสนใจทำภารกิจของรัฐบาลและพรรคพลังประชารัฐให้ลุล่วง

สำหรับตำแหน่งประธานกมธ. ยังไม่ขอออกความเห็น เพราะยังไม่ได้ประชุมร่วมกัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกมธ.ทั้ง 49 คน ส่วนข้อวิจารณ์ว่า หากได้เป็นประธานกมธ. โอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นไปได้น้อยนั้น คิดว่า กมธ.ทุกคนมีความเห็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญต่างกันอยู่แล้ว

ย้ำยืนยันประธานกมธ.ต้องเป็นฝ่ายรัฐบาล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน