ทะลุคนทะลวงข่าว

สิ้นเสียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งเดินหน้าจัดสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน ข้อมูลความรู้ ข้อคิด ข้อสังเกต ข้อสงสัย และคำถามระดมตามมาอย่างหลากหลาย

รวมถึงเวทีวิชาการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าในทางเศรษฐศาสตร์โครงการนี้คุ้มค่าคุ้มทุนหรือไม่แบ่งเป็น 2 เรื่อง 1.คุ้มค่าทางการเงินหรือไม่ และ 2.คุ้มค่าคุ้มทุนทางเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ ซึ่งถึงไม่คุ้มค่าทางการเงิน แต่เป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำ

อย่างไรก็ตาม ที่ต้องมองตัวเงินด้วย สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อไหร่ที่ไม่มีความคุ้มค่าทางการเงินก็เสี่ยงจะเจ๊ง จะไม่ยั่งยืน

ชี้ด้วยว่า พิจารณาในแง่เศรษฐศาสตร์ ความคุ้มค่าทางการเงินจะใช้เวลากี่ปีจึงจะคืนทุน หากมีระยะทางเพียงเท่านี้ คาดว่าไม่คุ้มค่าด้วยงบประมาณลงทุนสูงถึง 1.79 แสนล้านบาท จะต้องเก็บค่าโดยสารเท่าไรจึงจะคุ้ม และคงไม่มีเอกชนเสนอตัว

ตั้งคำถาม ผลตอบแทนทางการเงิน 1% ต่อปีจะได้หรือเปล่า ถ้าคิดแค่โครงการเดินทางกรุงเทพฯ-โคราช ทำแล้วเจ๊งกับเจ๊ง เพราะต้องมองว่าโคราชเป็นแค่ปากทางที่จะไปที่โน่นที่นี่ ถามว่านั่งรถไฟความเร็วสูงแล้วจะไปต่อยังไง เพราะไม่มีระบบรองรับ ค่าโดยสารจะเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้คุ้มค่าทางการเงิน ยังมีการสร้างมอเตอร์เวย์อีก

ติงด้วยตัวอย่าง ความคุ้มค่าทางการเงินมีตัวอย่างการเจ๊งทางการเงินให้เห็นกับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่รัฐบาลลงทุนเอง 100 เปอร์เซ็นต์ และเกิดปัญหาไม่เชื่อมต่อกับระบบอื่น จนเป็นรถไฟสายเหงา

กล่าวด้วยว่า สิ่งที่จะดีและทำให้เห็นผลคือ การเปิดเผยข้อมูลวันนี้ว่าสรุปแล้วเป็นอย่างไร เพื่อให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ระบบที่รัฐบาลคิดทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันเรื่องการศึกษารถไฟความเร็วสูงว่า ถ้าระยะทางสั้นต้นทุนจะแพงมากและยากมากที่จะทำให้คุ้มทุนไม่ว่าจะทางใด

ปริญญาบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์ 2 ใบ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันเดียวกัน

ปัจจุบันยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

ยังมีคำถาม 9 ข้อจาก จาตุรนต์ ฉายแสง

สำคัญๆ คือ คำสั่งคสช.ฉบับนี้ได้สั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นกฎหมายและระเบียบทั้งหมดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน ถามว่าอัยการจะตรวจสอบสัญญาโดยอิงกับกฎระเบียบใด องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบเพื่อป้องกันและปราบการทุจริตทั้งหลาย ยังจะตรวจสอบโครงการนี้ได้หรือไม่ และถ้าตรวจสอบจะใช้กฎหมายและระเบียบใดเป็นเครื่องมือหรือบรรทัดฐาน

รวมถึงข้อสังเกตที่ว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนจะเข้มงวดต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นมากขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดการทุจริตขึ้นอีกในหน่วยงานของจีน โดยเฉพาะเมื่อคสช.สั่งให้รฟท.จ้างรัฐวิสาหกิจของจีน โดยไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดๆ ของไทยใช้บังคับเลยแม้แต่น้อย เช่นนี้จะไว้ใจได้อย่างไรว่า จะไม่เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงในอนาคต

ทั้งสงสัย ตามที่ปรากฏเป็นข่าว โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะใช้วัตถุดิบโดยเฉพาะรางรถไฟ ตัววรถไฟและระบบไฟฟ้าจากจีน รวมทั้งจะใช้วิศวกรและช่างรวมทั้งคนงานจากจีนเกือบทั้งหมดด้วย

ถามว่า ข้อมูลนี้จริงหรือไม่ ถ้าจริง โครงการนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 5 ปีต่อไปนี้ได้อย่างไร

วัย 61 สำเร็จปริญญาตรีและปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก จนสอบประมวลความรู้ แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากกลับประเทศไทยมาสมัครส.ส.ในปี 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนฉะเชิงเทรา

ห่วงใย หลังจากการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่แล้ว หากมีปัญหาในการดำเนินการหรือปัญหาข้อกฎหมายอื่นใด ที่เดิมต้องอาศัยคสช.แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งคสช.นี้ จะอาศัยใครดำเนินการ

จากพรรคประชาธิปัตย์ ย้ายเข้าพรรคประชาชน พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย และพรรคเพื่อไทย

ทั้งเคยเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง และรองนายกฯ

ยุค คสช. ถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร

อีกหนึ่งมือติดตามปัญหาการขนส่งระบบราง อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. สามารถ ราชพลสิทธิ์ ยืนยันไม่เชื่อ มาตรา 44 เร่งรถไฟไทย-จีนได้ แนะด้วยเปลี่ยนตัวคนรับผิดชอบ เปลี่ยนกำหนดการก่อสร้าง พัฒนาเมืองควบคู่

ระบุว่า ติดตามโครงการนี้มาโดยตลอด ที่สำคัญ การก่อสร้างระยะที่ 1 ระยะทางสั้นๆ แค่เพียง 3.5 กิโลเมตร บ่งชี้ถึงความไม่พร้อมของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปของคนในวงการนี้ทั้งในและต่างประเทศว่าโครงการนี้ยากที่จะประสบความสำเร็จ

ว่าด้วย แม้การที่นายกฯ ประกาศใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมาย จะช่วยเร่งรัดการก่อสร้างได้บ้าง แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ?นครราช สีมา ประสบความสำเร็จได้ เพราะปัญหาหลักที่ทำให้โครงการนี้ล่าช้า อยู่ที่ผู้รับผิดชอบมากกว่าปัญหาทางกฎหมาย

1.นวลน้อย ตรีรัตน์ 2.จาตุรนต์ ฉายแสง 3.สามารถ ราชพลสิทธิ์

เสนอ 3 ข้อ เปลี่ยนผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับกระทรวงคมนาคมลงมาถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย, เปลี่ยนกำหนด การก่อสร้าง และพัฒนาเมืองควบคู่กับรถไฟความเร็วสูง

วัย 63 สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา สาขาการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง มหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น

เชี่ยวชาญวิศวกรรมจราจรและการขนส่ง

เคยเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.ฝ่ายโยธาและจราจร

เชื่อ “หากรัฐบาลทำได้ตาม 3 ข้อเสนอ คนไทยก็จะมีโอกาสได้ใช้รถไฟความเร็วสูงของไทยในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน”

ข้อท้วงติงเหล่านี้ อยู่ที่ คสช.แล้วว่าจะยอมรับฟังหรือไม่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน