ทะลุคนทะลวงข่าว : ความหวังหยุดวิกฤตโควิดกระทรวงสธ.-สถาบันวัคซีนผนึก‘สยามไบโอไซเอนซ์’

ความหวังหยุดวิกฤตโควิด สธ.-สถาบันวัคซีนผนึก‘สยามไบโอไซเอนซ์’ : สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้คนไทยติดเชื้อแล้ว แตะตัวเลข 1 หมื่นราย
กระจายไปเกือบ 60 จังหวัด

ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม เปิดแผนการฉีดวัคซีน ‘ฟรี’ให้กับประชาชนชาวไทยให้ได้อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปีนี้

ภายใต้การดูแลและจัดหาจากกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์, สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

และ สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด บริษัทที่ได้รับถ่ายทอดกระบวนการผลิตวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุจะได้รับวัคซีนล็อตแรก 2 ล้านโดส จากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ประเทศจีน ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย.นี้

โดย 2 แสนโดสแรก ตั้งเป้าฉีดให้ก่อนกับกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้สูงอายุ

จากนั้นเดือนมี.ค.และเม.ย. จะได้อีก 8 แสนโดส และ 1 ล้านโดส ตามลำดับ

รวมทั้งทำสัญญาจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าจำนวน 26 ล้านโดส กับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งอยู่ระหว่างถ่ายทอดกระบวนการผลิตให้กับสยามไบโอไซเอนซ์

เริ่มทยอยส่งมอบได้ภายในเดือนพ.ค.นี้

เช่นเดียวกับ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยืนยันการเร่งจัดหาวัคซีน เพื่อให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชาชนไทยในปีนี้

โดยเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนหลายบริษัท

ขณะนี้วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนและได้รับการยอมรับมีเพียง 3 ชนิด คือ ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer), โมเดอร์นา (Moderna) และแอสตร้าเซนเนก้า

ทั้งนี้วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง ทั้งของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ยังต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อดูประสิทธิผลของวัคซีนหลังจากฉีด 3 เดือน

ส่วนวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่ไทย จองซื้อ ได้รับอนุมัติทะเบียนให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินจากหน่วยงานควบคุมกำกับของอังกฤษแล้ว เมื่อ 30 ธ.ค.2563

ขณะที่ บริษัท สยามไบโซเอนซ์ จำกัด ซึ่งได้รับถ่ายทอดกระบวนการผลิตจากแอสตร้าเซนเนก้า

ดร.ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ยืนยันบริษัทเตรียมความพร้อมทั้งด้านสถานที่ โรงงาน วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และเครื่องจักร ไว้เรียบร้อย

ได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากแอสตร้าเซนเนก้า ตั้งแต่ 7 ต.ค. 2563

ปัจจุบันอยู่ในขั้นทดสอบการผลิต เพื่อ ให้ได้วัคซีนคุณภาพดี มีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานกลาง มาตรฐานเดียวกับโรงงานผลิตทั่วโลก ภายใต้แอสตร้าเซนเนก้า มีกำลังผลิตประมาณ 200 ล้านโดสต่อปี หรือ เดือนละ 15-20 ล้านโดส

ผลิตรอบแรกเมื่อ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้กำลังผลิตรอบที่ 2

เมื่อผลิตครบ 5 รอบ จะนำผลยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการองค์การอาหาร และยา (อย.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัย

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, MPHM. AIHD มหิดล (GPA 4.00)

อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน, หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 57

ผ่านตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) อุทัยธานี สอบได้ที่ 1 ในการสอบคัดเลือก นพ.สสจ. ปี 2549

ปี 2550-2555 ผอ.สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์

มิ.ย. 2554 ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข ระดับทรงคุณวุฒิ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

คสช.แต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ วาระปี 2559 และ 2560

ขยับเป็นผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข

21 ส.ค. 2561 ครม.แต่งตั้งดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ต.ค. 2563 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

เม.ย. 2563 ช่วงโควิด-19 ระบาดใน ไทยรอบแรก ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ชุดตรวจ โควิด-19 Rapid Test โชว์โปร่งใส มิให้เกิดข้อครหา

ยอมรับว่าเวลานี้วัคซีนมีจำนวนไม่มาก และไม่ใช่สินค้าที่จะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด

ที่สำคัญต้องมีระบบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย จะไม่ซื้อวัคซีนจากโรงงานไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่มีผลการทดลองเฟส 3 รองรับ

ยืนยันทุกล็อต ต้องได้รับการรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล

 

นพ.นคร เปรมศรี

ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

เกิด 12 พ.ค. 2513 อายุย่าง 51 ปี

แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลูกหม้อกระทรวงสาธารณสุข

ปี 2538 ผอ.โรงพยาบาลตาพระยา จ.สระแก้ว

หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์สังคม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จ.สระแก้ว

ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการศึกษาวัคซีนเอดส์ทดลอง ระยะที่ 3 (RV144) ทำงานเกี่ยวข้องกับงานด้านวัคซีนมาอย่างต่อเนื่อง

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, ผอ.สำนักงานบริหารโครง การกองทุนโลก กรมควบคุมโรค

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

สมัครเข้ารับการสรรหา และได้รับคัดเลือกดำรงตำแหน่ง ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.)
นั่งเก้าอี้ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2562 วาระ 4 ปี

ย้ำชัดไม่ปิดกั้นภาคเอกชนนำเข้าวัคซีน โควิด-19 แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. ของไทย

ดร.ทรงพล ดีจงกิจ

กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

ปริญญาตรี B.S. (Chemistry), Massachusetts Institue of Technology,Cambridge, Massachusetts, U.S.A.

ปริญญาเอก Ph.D. (Chemistry), The Scripps Research Institute, La Jolla,California, U.S.A.

ผ่านงาน Amgen, Inc. บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในการพัฒนายา-นวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคร้ายแรง

กรรมการผู้จัดการ/ กรรมการบริหาร/ เลขานุการคณะกรรมการบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ตั้งแต่ปี 2552 จนปัจจุบัน

กรรมการบริหาร บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด

กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอปสลาเจน จำกัด

มั่นใจการผลิตวัคซีนของสยามไบโอ ไซเอนซ์ บริษัทของไทยที่มีที่มาจากพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ก่อตั้งปี 2552 โดยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถือหุ้น 100 % ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 บริษัทหลัก คือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด

ปัจจุบัน พล.อ.อ.สถิตย์ สุขวิมล เป็นประธานกรรมการบริษัท

12 ต.ค.2563 กระทรวงสาธารณสุข, สยามไบโอไซเอนซ์, เอสซีจี และแอสตร้าเซนเนก้า ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกัน โควิด-19 AZD1222 ที่พัฒนาโดยมหา วิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน