ทิ้งหมัดเข้ามุม : คำถามถึงปชป.ต่อการแก้ไขรธน.

คำถามถึงปชป.ต่อการแก้ไขรธน. : หลังเลือกตั้ง 24 มี..
กกต.ประกาศรับรองส..แจกเก้าอี้ให้ 11 พรรคเล็กที่ได้คะแนนไม่ถึง 7 หมื่น

มีพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ต่อด้วยประชุมวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกประธานและรองประธานของแต่ละสภา

5 มิ.. สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วยส.. 500 คนและส.. 250 คนได้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ซึ่งมีการล็อกตัวไว้แล้วว่าต้องเป็น พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

สิ่งที่คสช.ลงทุนลงแรงทำมาตลอด 5 ปี ก็เพื่อสิ่งนี้

จบโหวตเลือกนายกฯ ก็ใช่ว่าปัญหาจะจบ ต้องติดตามต่อคือการจัดตั้งรัฐบาลโดยเฉพาะการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ให้บรรดาพรรคพันธมิตร

ประชาธิปัตย์ตัวแปรสำคัญ หลังเล่นตัวอยู่นาน ล่าสุดข่าวออกมาว่า มีแนวโน้มสูงจะไปร่วมกับพลังประชารัฐ

ก่อนหน้านี้ประชาธิปัตย์ยื่นเงื่อนไข หากจะให้ไปร่วมตั้งรัฐบาล พรรคแกนนำต้องรับปาก 2 เรื่อง คือ

การบรรจุนโยบายหาเสียงของพรรคไว้ใจนโยบายรัฐบาล และต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยด้วย

เงื่อนไขข้อแรก เกี่ยวพันถึงโควตารัฐมนตรีที่พรรคจะได้รับการจัดสรร หลักๆ ที่ต้องการคือเก้าอี้ รมว.เกษตรฯ กับ รมว.พาณิชย์

ไม่รู้ว่าพลังประชารัฐจะยอมหรือไม่ เพราะรมว.เกษตรฯ เป็นตำแหน่งที่กลุ่มสามมิตรหมายตาไว้เช่นกัน

ส่วนเงื่อนไขข้อสอง เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ปรากฏว่า พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สัมภาษณ์ชัดว่า ไม่มีจุดยืนเรื่องนี้

เมื่อเงื่อนไขได้รับการปฏิเสธแบบตรงๆ ก็ต้องรอดู ประชาธิปัตย์ว่าอย่างไร ยังจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่

ถ้าไม่ร่วมแสดงว่า ยังสนใจเรื่องศักดิ์ศรีของพรรคอยู่บ้าง

แต่ถ้ายังตากหน้าไปร่วม ก็อาจถูกสังคมตั้งคำถาม

เมื่อจัดสรรอำนาจผลประโยชน์ลงตัว แก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอีกต่อไป

ใช่หรือไม่

มันฯ มือเสือ

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน