โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย.นี้

จากข้อมูลสะสมก่อนสิ้นสุดโครงการ 10 วัน พบว่า มีผู้ใช้สิทธิเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ที่เป็นกลุ่มเดิม

จำนวน 25.46 ล้านราย มียอดใช้จ่าย 58,865.1 ล้านบาท

ผู้ใช้สิทธิที่เป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และเป็นกลุ่มใหม่ จำนวน 8.04 แสนราย มียอดใช้จ่าย 1,752.7 ล้านบาท

รวมมีผู้ใช้สิทธิทั้งหมดจำนวน 26.26 ล้านราย และยอดการใช้จ่ายรวม 60,617.8 ล้านบาท

แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 30,863.4 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 29,754.4 ล้านบาท

มียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 25,329.7 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 10,473.3 ล้านบาท ร้านโอท็อป 2,757.0 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 20,859.3 ล้านบาท ร้านบริการ 1,083.0 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 115.5 ล้านบาท

เมื่อรวมทั้ง 4 เฟสแล้วรัฐใช้เงินถึง 129,300 ล้านบาท

แต่ยังไม่ชัดว่าจะต่อโครงการนี้ในระยะที่ 5 หรือไม่

ล่าสุดคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเบี้ยยังชีพ เป็นระยะเวลา 6 เดือน

เฉลี่ยรายละ 100-250 บาท ตามช่วงอายุ จำนวน 10,896,444 ล้านคน วงเงินรวมทั้งสิ้น 8,348.16 ล้านบาท

เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับการจ่ายเงินครั้งนี้ จ่ายเพิ่มจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนเดิม ตามช่วงอายุ ตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย.2565

อายุ 60-69 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาทต่อเดือน

รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 100 บาทต่อเดือน รวมเป็น 700 บาทต่อเดือน

อายุ 70-79 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 700 บาทต่อเดือน

รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 150 บาทต่อเดือน รวมเป็น 850 บาทต่อเดือน

อายุ 80-89 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 800 บาทต่อเดือน

รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 200 บาทต่อเดือน รวมเป็น 1,000 บาทต่อเดือน

อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาทต่อเดือน

รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 250 บาทต่อเดือน รวมเป็น 1,250 บาทต่อเดือน

น่าสังเกตว่ารัฐบาลนี้ทุ่มเงินไปกับโครงการประชานิยมเป็นจำนวนมาก

แต่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามเม็ดเงินที่ใช้ไป!!!

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน