‘ไอซีทีมหิดล’คว้าผลงานวิจัยระดับดี

โปรแกรมบ่งชี้‘อัตลักษณ์-จำบุคคล’

‘ไอซีทีมหิดล’คว้าผลงานวิจัยระดับดี – โปรแกรมบ่งชี้‘อัตลักษณ์-จำบุคคล’ การแยกอัตลักษณ์ตัวบุคคลในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะทางชีวภาพในการจำแนกเป็นหลัก เช่น ภาพลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่ายดวงตา และภาพใบหน้า

ซึ่งข้อมูลทางชีวภาพเหล่านี้ไม่สามารถใช้กับระบบกล้องวงจรปิดได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ลายนิ้วมือต้องการการสัมผัสกับอุปกรณ์อ่าน ดวงตาไม่สามารถถูกอ่านในกล้องคุณภาพต่ำและในระยะไกล ใบหน้าไม่สามารถถูกบันทึกได้ในบางมุมกล้อง

ผศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์

‘ไอซีทีมหิดล’คว้าผลงานวิจัยระดับดี

‘ไอซีทีมหิดล’คว้าผลงานวิจัยระดับดี

ผศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาวิธีการและโปรแกรมคอม พิวเตอร์ ให้สามารถทำความเข้าใจ ทั้งภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติได้ด้วย การระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน โดยในงานวิจัยนี้ได้นำลักษณะทางชีวภาพทางเลือก นั่นคือ “รูปแบบการเดิน” มาใช้ในการระบุตัวบุคคล ซึ่งได้ผ่านการศึกษาแล้วว่าเป็นหนึ่งในข้อมูลเฉพาะของบุคคล

ดร.วรพันธ์กล่าวว่า ช่วงแรกที่พัฒนาโปรแกรมดังกล่าวและได้ทดสอบกับข้อมูลในห้องทดลองแล้ว ให้ความแม่นยำที่สูงมาก แต่เมื่อนำมาทดสอบกับข้อมูลในสภาวะจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมของการเดิน เช่น ความเร็วของการเดิน ทิศทางของการเดิน และเสื้อผ้าที่สวมใส่ ทำให้ความแม่นยำในการจดจำลดลง เราจึงวิจัยต่อยอดในการระบุอัตลักษณ์โดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน โดยการดึงข้อมูลภาพและวิดีโอที่มีความคงที่ในรูปแบบของ spatial-temporal description

ถือเป็นการใช้เทคนิคการคำนวณขั้นสูงในการประมวลผลภาพ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่ที่ต้องการ เนื่องจากวิธีการที่พัฒนามาใหม่นี้ถูกคิดค้นบนพื้นฐานของการเปลี่ยน แปลงเงื่อนไขต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง และสามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง “สมาร์ตซิตี้” เมืองอัจฉริยะ โดยเพิ่มความฉลาดแบบอัตโนมัติให้กับระบบกล้องวงจรปิด ในการใช้ข้อมูลไบโอแมทริกซ์ในการระบุอัตลักษณ์บุคคล สร้างความแม่นยำในการใช้รูปแบบการเดิน และภาพใบหน้าประกอบกันได้

ผลงาน “การระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน” เพิ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อเร็วๆ นี้ด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน