อิฐจากเห็ดมาแรง แทนซีเมนต์ ซ่อมแซมตัวเองได้ ลดโลกร้อน

อิฐจากเห็ดมาแรงเดลีเมล์ รายงานการพัฒนา “เห็ด” ที่ไม่ได้ใช้แค่ทำหน้าพิซซ่า หากยังเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นทางออกสำหรับการลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นอีพี ระบุว่าวัตถุดิบในการก่อสร้างปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบร้อยละ 40 ต่อปี

ดังนั้นการที่วิศวกรทดลองผลิตอิฐจากเห็ดเป็นผลสำเร็จและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้ง ย่อยสลายทางชีวภาพได้เมื่อต้องทุบตึกทิ้ง จึงเป็นความหวังอย่างยิ่ง

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ต้องการสร้างอาคารโดยไม่ต้องใช้เห็ดที่มีชีวิตซึ่งเติบโตได้ตามที่ออกแบบและซ่อมแซมตัวเองได้ หากได้รับความเสียหาย

ไมซีเลียมหรือ เส้นใยราซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเห็ดมีค่าคาร์บอนเป็นกลาง น้ำหนักเบา คงทน ม้วนพับได้และทนไฟได้ตามธรรมชาติ

สำหรับขั้นตอนการผลิตอิฐจากเห็ด เริ่มจากการนำไมซีเลียมมาผสมกับขยะจากการเกษตร เช่น ฟางหรือแกลบข้าวโพด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้ยาวพอที่จะหุ้มฟาง จากนั้น ใช้ความร้อนหรือเคมีเพื่อฆ่าเชื้อราซึ่งขั้นตอนนี้ เหมือนกับการทำอิฐแบบดั้งเดิมซึ่งใช้วัตถุดิบธรรมชาติอย่างดินเหนียวมาใช้แทนคอนกรีต

เดวิด เบนจามิน สถาปนิกจากบริษัท เดอะ ลิฟวิ่ง (The Living) กล่าวว่าเริ่มจากสร้างอิฐจากเห็ด ก่อนขึ้นโครงสร้างและเมื่ออาคารหมดอายุใช้สอยแล้ว ก็ทุบวัตถุดิบก่อสร้างและฝังกลบนานหลายแสนปี

อิฐจากเห็ดมาแรง

FUNGAR (Fungal Architectures) ฟังการ์เปิดตัวผลการทดลองวัสดุก่อสร้างจากเห็ดในปี 2562 ซึ่งบอล ไอเรส นักวิจัยด้านสถาปัตย์ จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสถาปัตยกรรมโคเปนเฮเกนและสมาชิกผู้ก่อตั้ง ฟังการ์ หวังว่าต่อไปคงจะสร้างสรรค์ผลงานได้มากกว่าอิฐจากเห็ด

ขณะนี้ กำลังทดลองเพิ่มขึ้นเพื่อศึกษาการเติบโตของสิ่งต่างๆ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งต้องการให้ไมซีเลียมมีชีวิต

ตามทฤษฎี ราเติบโตให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการได้และราที่มีชีวิตซ่อมแซมตัวเองได้ หากทำให้เกิดหลุมบนกำแพงโดยบังเอิญ ก็เพียงแค่รอไมซีเลียมเติบโตจนอุดรูบนกำแพงเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ เชื้อรายังตอบสนองต่อแรงกระตุ้นไฟฟ้าทำให้เปิดโอกาสให้สร้างกำแพงที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่ยิ่งไมซีเลียมโตขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสกินวัสดุที่ช่วยให้โครงสร้างแข็งแรงและในที่สุด อาจจะทำให้โครงสร้างอาคารอ่อนแอลง

อิฐจากเห็ดมาแรง

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทฤษฎีของไอเรสเป็นจริง จึงใช้ไมซีเลียมที่ตายแล้ว 2 ชั้นอยู่ด้านนอกและอีก 1 ชั้นอยู่ด้านใน เมื่อไม่ได้รับน้ำ ไมซีเลียมที่อยู่ด้านในก็จะหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวจนกว่าจะถึงคราวจำเป็น

FUNGAR มีแผนสร้างอาคารขนาดเล็กและเป็นอาคารที่ไม่ตั้งอยู่ติดกับอาคารอื่นๆ โดยใช้ไมซีเลียมที่มีชีวิตเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว แต่ในขณะนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าใช้รามาสร้างบ้านทั้งหลัง

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2557 The Living สร้างศาลาสูง 12 เมตรที่ด้านนอกพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก พีเอสวัน โดยใช้อิฐที่ทำจากเห็ดซึ่งนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปดูโครงสร้างภายในได้

ศาลาสูง 12 เมตรที่ด้านนอกพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก พีเอสวัน โดยใช้อิฐที่ทำจากเห็ด

หลังจากนั้น สร้างสิ่งปลูกสร้างอีกแห่งหนึ่งในกรุงปารีสของฝรั่งเศสโดยใช้ไมซีเลียมมีชีวิตทำให้เห็นการเติบโตของอิฐก้อนที่อยู่ติดกันไปพร้อมๆ กัน

เบนจามินกล่าวว่าประเทศต่างๆ ต้องการบรรลุเป้าหมายลดโลกร้อนซึ่งวัสดุก่อนสร้างชนิดนี้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ด้านนักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า มีแผนที่จะนำไมซีเลียมไปปลูกบนดวงจันทร์และดางอังคารเพื่อจะได้ไม่ต้องนักวัสดุที่มีน้ำหนักมากขึ้นไปกับยานอวกาศ

ลีนน์ โรธส์ไชลด์ นักชีวดาราศาสตร์ของศูนย์วิจัยอาเมสของนาซ่ากล่าวว่าขณะนี้กำลังศึกษาการออกแบบการปลูกไมซีเลียมบนดาวอังคารอยู่ลักษณะคล้ายกับการแบกบ้านไว้บนหลัง เหมือนกับเต่า แต่ต้องใช้ต้นทุนพลังงานสูงมาก ดังนั้น จึงใช้พลังงานจากไมซีเลียมที่ขยายพันธุ์ได้เองเมื่อไปถึงที่นั่น

ส่วนนักลุงทุนที่มีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดัดแปลงเห็ดให้เป็นฉนวนกันความร้อนภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้า เช่น อิเกีย และเดลล์ เริ่มใช้กล่องพัสดุที่ทำจากเห็ดและบริษัทเนเธอร์แลนด์เปิดตัว เดอะ ลิฟวิ่ง โคคูน หรือ โลงศพเห็ดซึ่งใช้เวลาย่อยสลายเร็วและไม่มีสารพิษปนเปื้อนตกค้างในดินจึงเป็นประโยชน์กับการปลูกต้นไม้ต้นใหม่ๆ

ปีที่แล้ว คาที ไอเยอร์ส เปิดตัวเรือแคนนูที่ทำจากเห็ดโดยใช้ไมซีเลียมอัดแน่นทำให้กันน้ำและลอยน้ำได้เป็นอย่างดี เรือแคนนูยาว 2.4 เมตร หนัก 45 กิโลกรัม มีชื่อว่ามายโคนูนั่งได้ / คน ใช้เวลารอให้เห็ดเติบโตเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นและมีเห็ดดอกใหม่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ไอเยอร์สนำเรือลงน้ำ

ไอเยอร์สสร้างเรือเห็ดโดยร่วมมือกับแอช กอร์ดอน จากบริษัทเนแบรสกา มัชรูมซึ่งเพาะปลูกเห็ดและขายอาหาร รวมทั้งเวชภัณฑ์จากเห็ด ด้วยการไม่ใช้กระดูกเรือที่ทำจากไม้และเปเปอร์ มาร์เช่ม้วนเป็นโครงสร้าง แต่ใช้สปอร์เห็ดแทน

ส่วนด้านนอกตัวเรือสร้างจากเห็ดที่เติบโตในอุณหภูมิระหว่าง 26-32 องศาเซลเซียสและความชื้นระหว่างร้อยละ 90-100

ไอเยอร์สกล่าวว่าเห็ดช่วยได้มาก เห็ดให้ประโยชน์มากกว่านำมารับประทานและยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

ขณะนี้ ไอเยอร์สและกอร์ดอนกำลังทดลองสร้างเก้าอี้ อิฐปูทางเดินและอื่นๆ จากเห็ดอีกด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน