ยิ่งงอแง ซาราห์ เอ็ม. คอยน์ จากมหาวิทยาลัยบริกแฮม ยัง สหรัฐอเมริกา ศึกษาผลกระทบการใช้งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมงอแงในเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-3 ขวบ จำนวน 269 คน โดยให้พ่อแม่ตอบแบบสอบถามเกี่ยว กับการเข้าถึงแก๊ดเจ็ตและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกๆ ครอบคลุมทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องเล่นวิดีโอเกม

นอกจากนี้ ยังสอบถามว่าพ่อแม่ให้ลูกเล่นอุปกรณ์ หน้าจอสัมผัสบ่อยแค่ไหนเมื่อมีอาการงอแงหรือเพื่อให้ หยุดพฤติกรรมงอแงในที่สาธารณะ จากนั้นนำข้อมูลมา เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนด้วยการจำลองสถานการณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่วิจัยจะเฝ้าสังเกตการตอบสนองของเด็กๆ ที่กำลังดูการ์ตูนเรื่องโปรด และจู่ๆ การ์ตูนก็ตัดปิดไปก่อน จะจบเรื่อง

ปรากฏว่าเด็กในกลุ่มที่พ่อแม่มีการพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แสดงอาการงอแงเมื่อการ์ตูนตัดจบ ทั้งล้มตัวลงนอนกับพื้น ส่งเสียงกรีดร้องไม่พอใจ บางคนถึงขั้นร้องไห้

ต่างจากเด็กๆ อีกกลุ่มที่พ่อแม่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความงอแง โดยเด็กกลุ่มหลังนี้แสดงอาการงุนงงเพียงเล็กน้อยหรือทำสีหน้าสงสัยเมื่อการ์ตูนเรื่องดังกล่าวตัดตอนจบไปดื้อๆ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าดูผิวเผินการใช้แก๊ดเจ็ตแก้ปัญหาลูก งอแงอาจไม่มีผลเสียเพราะทำให้ลูกหยุดร้องโยเย และช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากที่อารมณ์ไม่ดีเปลี่ยนเป็นสนุกไปกับสิ่งที่กำลังดูอย่างเพลิดเพลิน แต่การพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ทำให้เด็กเคยชินกับการใช้งานแก๊ดเจ็ตซึ่งกลายเป็นเครื่องมือการต่อรองที่พ่อแม่จะตามใจให้เล่นเพื่อหยุดความดื้อ เด็กๆ จะคิดว่ายิ่งดื้อบ่อยก็ยิ่งได้เล่น และก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมในระยะยาว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน