‘มมส’โวยอธิการ
กลับลำ-สั่งห้าม!
สภาหารือ6ญัตติ
ฟังเสียงนักศึกษา

ศบค.แถลงต่ออายุ พ.ร.ก.ไม่เอาผิดการชุมนุมทางการเมือง อ้างเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าใช้ควบคุมโรคเพียงอย่างเดียว ขณะที่สภาประชุมหารือ 6 ญัตติที่พรรครัฐบาล-ฝ่ายค้านดันตั้งอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน หน่วยข่าวจับตา 12 กลุ่มโยงการชุมนุมของม็อบหลายพื้นที่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามโวยอธิการบดีกลับลำไม่อนุญาตให้ชุมนุมอ้างกลัวโควิดระบาด

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบของนิสิตนักศึกษา นัดชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต่อเนื่อง จากการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยนัดจัดชุมนุมในระดับจังหวัด ทั้งภายในมหาวิทยาลัย และตามสถานที่สำคัญในตัวจังหวัด ในช่วงสัปดาห์นี้ ได้แก่

ชูสามนิ้ว – กลุ่มนักศึกษา รวมทั้งประชาชน ชูสามนิ้ว ระหว่างชุมนุม พร้อมยื่น 3 ข้อเช่นเดียวกับกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่ลานอเนกประสงค์แหลมแท่น ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 22 ก.ค.

วันที่ 23 ก.ค. เวลา 16.00 น. กิจกรรม “อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ให้มันจบที่รุ่นเรา” ที่บึงพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา, เวลา 17.00 น. มีการเชิญชวนร่วมกิจกรรมลูกภูพานต้านเผด็จการ ตู่ไม่ไป ไทยไม่ก้าว ที่ลานกิจกรรมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, เวลา 17.00 น. กิจกรรมร่วมแสดงพลัง “อีสานบ่ย่านเด้อ นักศึกษาคือทัพหน้า ชาวประชาคือทัพหลวง” ที่สวนรัชดา นุสรณ์ (หน้าศาลากลาง) จ.ขอนแก่น

เวลา 17.00 น. สามเครือข่ายภาคีนักศึกษาประชาคมรังสิต ได้แก่ ภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ เครือข่ายราชมงคล และพะยอมเก๋า (ม.รังสิต) จับมือกันทำแฟลชม็อบชวนประชาชนร่วม “ปทุมธานีไม่ปรานีเผด็จการ” ที่ท่ารถต่างจังหวัดตรงข้ามฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และเวลา 17.00 น. มีการจัดกิจกรรม “เฮ้ย! วัยรุ่น ให้มันจบที่รุ่นเรา #รังสิตไม่ทนเผด็จการ” ที่บริเวณลานหลังพระศรีฯ มหาวิทยาลัยรังสิต

วันที่ 24 ก.ค. เวลา 11.40 น. ภาคีนักศึกษาศาลายา นัดรวมตัวไปอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ และมีกิจกรรมเผารูปพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ, เวลา 16.30 น. มอกะเสด และเครือข่าย ขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า และเพื่อนพ้องนิสิตนักศึกษาทุกท่านจากทุกที่ มาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ถึงอำนาจประชาชนโดยพร้อมเพรียงกันในงานชุมนุมใหญ่ครั้งนี้ เพื่อประกาศว่า “ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” และจบเรื่องเลวร้ายนี้ให้ได้ในยุคสมัยของเรา ที่หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เวลา 17.00 น. จัดกิจกรรม “คนลำพูนก็จะไม่ทนโว้ย” ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี กลางเมืองลำพูน, เวลา 17.00 น. ร่วมแสดงพลัง “อุดรธานีสิบ่ทนอีกต่อไป” ที่ ทุ่งศรีเมือง ลานน้ำพุ จ.อุดรธานี, เวลา 18.00 น. ขอเชิญชาวพัทลุงมาแสดงพลังกัน ที่บริเวณหน้าพระพุทธนิรโรฯ

วันที่ 29 ก.ค. เวลา 17.00 น. จัดกิจกรรม “สุพรรณไม่เอาเผด็จการ” ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี, เวลา 17.00 น. แนวร่วมนิสิต มรภ.นว เพื่อประชาธิปไตย และ New life Network-แนวร่วมนวชีวิน-NN จัดกิจกรรม “ทนต่อไปไม่ไหวแล้ว นครสวรรค์จะไม่ทน” ที่บริเวณหน้าประตู 13 อุทยานสวรรค์ จ.นครสวรรค์ และเวลา 17.00 น. กิจกรรม “โคราชจะไม่ทน” ที่ลานย่าโม อ.เมือง จ.นครราชสีมา

เมื่อเวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานแปดเหลี่ยม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส เพื่อประชาธิปไตย จัดกิจกรรมอีสานสิบ่ทน ตามที่นัดหมายผ่านเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส เพื่อประชาธิปไตย พร้อมประณามประกาศของมหาวิทยาลัยที่สั่งงดจัดงานด่วน ทำลายภาพลักษณ์และปณิธานที่จะต้องรับใช้ประชาชน โดยกิจกรรมเริ่มต้นในเวลา 15.00 น. กลุ่มนิสิตรวมตัวไฮปาร์ก ตอบโต้อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรณีออกประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องการใช้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยอ้างว่ามีความเป็นห่วงในเรื่องของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ชุมนุม

อีสานสิบ่ทน – นิสิต มมส เพื่อประชาธิปไตย จัดแฟลชม็อบ ‘อีสานสิบ่ทน’ เรียกร้องยุบสภา 250 ส.ว.ลาออก จัดเลือกตั้งภายใต้รธน. 40 และร่างรธน.ใหม่ ที่ลานแปดเหลี่ยม ม.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 ก.ค.

นายพงศธรณ์ ตันเจริญ ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส เพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ทางกลุ่มนิสิตยืนยันที่จะจัดกิจกรรมตามเดิม เนื่องจากสถานการณ์โควิดไม่ได้น่ากังวลเหมือนในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ยอดผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศไม่มีมา 50 กว่าวัน มีแต่วีไอพีที่มาจากต่างประเทศ อีกทั้งเห็นว่าทางมหาวิทยาลัยขัดขวางการจัดกิจกรรม โดยอธิการบดีไม่ได้ทำตัวเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัยที่จะต้องรับใช้ประชาชน เพราะพื้นที่ทั้งหมดบนพื้นที่นี้เกิดจากภาษีของประชาชน ในเมื่อท่านต้องการทำตามประสงค์ของผู้มีอำนาจทางเรายินดีที่จะ ต่อต้าน ขัดขืนและจัดกิจกรรมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงานความมั่นคงได้จัดเตรียมข้อมูล กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านการเมืองที่เตรียมชุมนุมประท้วง กับกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free youth) ร่วมกับเครือข่าย รวม 12 กลุ่ม ที่เตรียมชุมนุมประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เร็วๆ นี้ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1.กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) มีน.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธาน นายชลธิศ โชติสวัสดิ์ เลขาธิการ พร้อมด้วยแกนนำ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายเบญจพล อัศวอารีย์ นายชนินทร์ วงษ์ศรี น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นายณัฐชนน ไพโรจน์ และนายกานต์นิธิ ลิ้มเจริญ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย มี นายภานุพงศ์ จาดนอก นายณัฐชนน พยัฆพันธ์ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 3 กลุ่มเยาวชนปลดแอก Free Youth มีนายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี นายภานุมาศ สิงห์พรม น.ส.สุพัตรา นามวิเศษ น.ส.เนตรนภา อำนาญส่งเสริม นายปรมินทร์ รัศมีสวัสดิ์ และนายธัญเทพ ทองป้อง เป็นแกนนำ

กลุ่มที่ 4.กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) มีน.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว นายกรกช แสงเย็นพันธ์ นายธนพล พันธุ์งาม นายอานันท์ ลุ่มจันทร์ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 5 กลุ่มคนเสื้อแดง มีนายวรัญชัย โชคชนะ นายสมบัติ ทองย้อย นายฉัตรมงคล วัลลีย์ นางจุฑามาศ ทรงเสี่ยงไชย นางมัทนา อัจจิมา นายเอกภพ กตัญญ นางยุพา พวงทองดี นางนภัสสร บุญรีย์ นาง นัตยา ภานุทัต นางรักษิณี แก้ววัชระรังษี นางสาวเกศสิรินยา ธนศรีสถิตย์

นางวลี ญาณะหงสา นายประจิณ ฐานัง กรณ์ นายภัทรพล ธนเดชพรเลิศ นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 6 กลุ่มแรงงาน มีนางศรีไพร นนทรีย์ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 7 กลุ่มสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชน มี นายบุศรินทร์ แปแนะ นายอานนท์ นำภา ทนายความ ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เป็นแกนนำ

กลุ่มที่ 8 กลุ่มการเมือง นายปิยรัฐ จงเทพ อดีตผู้สมัครส.ส.พรรคอนาคตใหม่ นาง อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 9 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองมี น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา นายเอกภพ กตัญญู นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ นายบารมี ชัยรัตน์ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ นายรัฐพงษ์ ภูแก้ว นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 10 กลุ่มอาจารย์และนิสิตนักศึกษา มีนายเนติวิทย์ โชติภักไพศาล นิสิตจุฬาฯ น.ส.สิรินทร์ มุ่งเจริญ สภานิสิตจุฬาฯ นายยามารุดดิน ทรงศิริ นักศึกษามธ. น.ส.ชลิตา บัณฑุวงศ์ มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายธนชัย เอื้อฤๅชา น.ศ.รามคำแหง เป็นแกนนำ

กลุ่มที่ 11 กลุ่มอดีตผู้ถูกกล่าวหากระทำ ความผิด ม.112 มีนายประเวศ ประภานุกูล นายเอกชัย หงส์กังวาน นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข น.ส.ณัฏรธิดา มีวังปลา นายจือเซง แซ่โค้ว และนายนันทพงษ์ ปานมาศ เป็นแกนนำ กลุ่มที่ 12 กลุ่มอื่น รวมมิตร มี น.ส.อาทิตยา พรพรม ภาคี น.ศ.มหิดล ศาลายา นายปรัชญา สุรกำจรโรจน์ นายเดชาธร บำรุงเมือง น.ส.จุฬานุช พูดเพราะ กลุ่มกล้าคิด มร. น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ เป็นแกนนำ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเล็กที่เป็นเอกเทศ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด

รายงานข่าวแจ้งว่า วันเวลาที่จะนัดชุมนุมนั้น อยู่ระหว่างการนัดหมาย ตกลงกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงกำลังจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ว่าเป็นวันไหน เพื่อจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้ารักษาความสงบเรียบร้อยไม่เกิดเหตุบานปลาย และอาจเข้าข่ายความผิด ข้อหาตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 9 ข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ม.108 เดินขบวนกีดขวางการจราจร ข้อหา พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง ใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อหา พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ม.33

เวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาเป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน 6 ญัตติ เรื่องขอให้สภาพิจารณามีมติให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ของนายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ และคณะเป็นผู้เสนอ นอกจากนั้นยังมีญัตติที่คล้ายกันของนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ญัตติของนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และญัตติของนายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมให้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน

นายจักรพันธ์อภิปรายว่า ญัตตินี้ได้ยื่นไปตั้งแต่เมื่อเดือนก.พ. แต่ขณะนี้การชุมนุมก็เริ่มกลับมาอีกครั้ง ขณะนี้ถือว่าเยาวชน นักศึกษา มีความตื่นตัวทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าอีกด้านก็รู้สึกกังวล เพราะการชุมนุมทางการเมืองในประวัติศาสตร์ต้องยอมรับว่ามีหลายครั้งที่การชุมนุมอาจจะทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความคิดอ่านที่ดีต่อบ้านเมือง แต่บางครั้งถูกผู้ไม่หวังดีบิดเบือน ยุยง ปลุกปั่นให้แสดงออกในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร จึงอยากให้สภาที่มีความเป็นกลางนั้นช่วยเป็นสะพานเชื่อมความคิดความอ่านของเยาวชน

ด้านนายประเสริฐอภิปรายว่า การที่ต้องรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษามีประเด็นหนึ่งที่นักศึกษาเข้ามาแสดงความคิดเห็นกับคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 คือรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นเพียงภาพลวงตา มีการรับรองการทำรัฐประหารและอำนาจของคสช. รวมไปถึงกรณียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ไม่มีอะไรคืบหน้า เป็นเพียงการซื้อเวลาให้รัฐบาลปกครองประเทศได้นานๆ เสมือนเป็นการพายเรือในอ่างที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยน แปลงของโลก นักศึกษานอกจากจะถูกจำกัดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นแล้วยังถูกคุกคามไม่ให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระด้วย ตนจึงอยากเห็นภาพพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม เดินไปฟังความคิดเห็นของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเหมือนอย่างที่พล.อ. ประยุทธ์เดินทางไปรับฟังความคิดเห็นของสื่อ

ขณะที่นางอมรัตน์อภิปรายว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จ.ระยอง ที่เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบได้จับนักศึกษาที่มาชูป้ายประท้วงพล.อ.ประยุทธ์ขึ้นรถ ซึ่งรถคันดังกล่าวก็ไม่ใช่รถของทางราชการ ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ตนในฐานะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นที่ไปสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มนิสิต นักศึกษา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็เห็นว่าเจ้าหน้าที่เอากระถางต้นไม้ไปวางไว้บริเวณดังกล่าวราวกับป่าหิมพานต์ โดยนักศึกษาและ ผู้ชุมนุมต้องลงไปใช้พื้นที่บริเวณถนนแทน ตนจึงได้สอบถามผู้ชุมนุมว่าแม้จะมีการเชือดไก่ให้ลิงดูไปแล้วทั้งกรณีที่กัมพูชาและระยอง เหตุใดนักศึกษาจึงกล้ามาชุมนุม ก็ได้รับคำตอบว่าเขาโกรธทั้งที่มาของรัฐบาลและเรื่อง อื่นๆ ที่ทำให้รัฐบาลดำรงอยู่โดยมิชอบ การที่ตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคการเมือง 19 พรรคทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ จนไม่สามารถบริหารบ้านเมืองให้มีประสิทธิภาพได้ รวมไปถึงกรณีองค์กรอิสระที่ไม่เป็นกลาง และการคุกคามผู้เห็นต่าง แม้แต่ตนเองก็เคยถูกคุกคามที่บ้านมาแล้วหลายครั้ง

นางอมรัตน์กล่าวอีกว่า ถ้ารัฐบาลและผู้นำในรัฐบาลอยากประสบความสำเร็จ และต่อลมหายใจได้นานๆ ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ผิดๆ 3 ประเด็น คือ 1.ทัศนคติที่คิดว่านักเรียน นักศึกษา ไม่ได้คิดเอง แต่ที่ออกมาชุมนุมเพราะมีเบื้องหลัง ซึ่งไม่จริง แต่กับเป็นรัฐบาลต่างหากที่เป็นคนมีเบื้องหลังที่อยากสืบทอดอำนาจ 2.ทัศนคติที่ว่าการชุมนุมจะไม่สงบ ซึ่งไม่จริง การชุมนุมที่ผ่านมาหลายครั้งเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และ 3.ทัศนคติที่ติดลบต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รัฐบาลต้องไม่ดูถูกทัศนคติในโลกเก่า สิ่งที่นักศึกษาต้องการวันนี้นอกจากการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้แสดงความคิดเห็นแล้ว เขายังต้องการการเปิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจากรัฐบาลด้วย แต่นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้แล้วยังยัดเยียดความผิดให้กับพวกเขา

ส่วนนายอิสระกล่าวว่า ตนให้ความสำคัญกับการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้แสดงความเห็นภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เพราะถือเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต หากสภาเปิดโอกาสและสร้างพื้นที่ให้กับนักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงกับสภาในการแสดงความเห็น รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคม จะยิ่งเป็นการส่งเสริมวิถีของระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ ตนเสนอให้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของกรรมาธิการชุดนี้ และมีส่วนร่วมกับการเสนอร่างพ.ร.บ. ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจว่าถ้าสภาให้โอกาสเขานั้น จะไม่ใช่การคบเด็กเพื่อสร้างบ้าน แต่จะเป็นการคบเด็กเพื่อสร้างชาติ

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงการขยายประกาศออกไป 1 เดือนขอให้ประชาชนสบายใจขึ้น เพราะเราใช้มาตรา 9 เบาที่สุดแล้ว เราไม่ได้ห้ามการออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว และจะไม่ใช้เพื่อมาห้ามการชุมนุม โดยมีเจตนาเพื่อควบคุมโรคอย่างบริสุทธิ์ใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งการห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฏในพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ต่ออีก 1 เดือน แต่การชุมนุมก็ต้องไปปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามปกติ โดยจะ เสนอครม.วันที่ 28 ก.ค.นี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน