3คอลัมน์ วงล้อเศรษฐกิจ

ร้านอาหารกระอัก! – ธุรกิจร้านอาหารต้องกลับมาเผชิญกับความท้าทายอีกรอบ เมื่อโรคโควิดได้กลับมาระบาดอีกครั้งเป็นระลอกที่ 3 ส่งผลให้ในวันที่ 29 เม.ย. 2564 ภาครัฐได้ประกาศ ยกระดับ 6 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ห้ามมีการรับประทานอาหารภายในร้าน รวมถึงจำกัดเวลาเปิดปิดในพื้นที่ควบคุม และพื้นที่ควบคุมสูงสุด เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พ.ค. 2564

ส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจร้านอาหารอย่างเลี่ยงไม่ได้ และการระบาดระลอกนี้ยังซ้ำเติมผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารบางรายที่ต้องเผชิญกับปัญหารายได้ลดลง ขาดสภาพคล่อง และมีภาระสินเชื่อ ซึ่งสร้างความท้าทายในการอยู่รอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง

การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการเข้าใช้บริการภายในร้าน แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างงาน กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศทำให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมาก ยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ได้ประเมินผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 ดังนี้

เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อธุรกิจร้านอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยหลีกเลี่ยงการนั่งบริโภคภายในร้านหรือสังสรรค์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ

ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดเล็ก-กลางที่คาดว่าจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% ของธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมา จนทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายนอก สะท้อนให้เห็นจากยอดคงค้างสินเชื่อที่เร่งตัวขึ้นของธุรกิจบริการในช่วงปีก่อน

ภาพธุรกิจร้านอาหารในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงมีความ ไม่แน่นอนสูง ความเสี่ยงการกลับมาระบาดของโควิดยังคงมีอยู่ จากสถานการณ์ต่างๆ จึงปรับลดประมาณการธุรกิจร้านอาหารในปี 2564

โดยมองว่ามูลค่าธุรกิจร้านอาหารน่าจะอยู่ที่ 3.82-3.94 แสนล้านบาท หรือหดตัว 5.6-2.6% จากปีก่อนหน้า (ลดลงจาก คาดการณ์เดิมที่ 4.1 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน