ฟื้นฟูวิสาหกิจชุมชนแดนใต้ – เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการชุมชนระดับท้องถิ่น สร้างโอกาสการจ้างงาน และบ่มเพาะธุรกิจชุมชนที่สร้าง รายได้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กลุ่มสตรี เยาวชน และผู้ว่างงานจากวิกฤตโควิด-19

มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดำเนิน “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและนักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” ผ่านการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน

ได้แก่ 1.การสร้างทีมและการฝึกวางแผนองค์กร 2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างขีดความสามารถของสมาชิก ทดสอบกลุ่มเป้าหมาย และ 3.ดูแลการดำเนินการ และการประเมินผลกระทบ

นับตั้งแต่เปิดตัวในช่วงต้นเดือนธันวาคม ปี 2563 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โครงการดังกล่าวสนับสนุนด้านเทคนิคและการ เสริมสร้างขีดความสามารถให้ 5 ชุมชน ประกอบด้วย 1.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านท่าด่าน จ.ปัตตานี

2.วิสาหกิจสิ่งทอชุมชนคนรักษ์น้ำบ่อ จ.ปัตตานี 3.วิสาหกิจชุมชนฟาร์มโคขุนตัวอย่างเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ต.ลำใหม่ จ.ยะลา 4.กลุ่มสตรีและเยาวชนผู้ผลิตกาแฟโบราณบ้านแหร จ.ยะลา และ

5.ชุมชนเรียนรู้การปลูกกาแฟ ฮาลาบาลา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจ รวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการการวางแผนธุรกิจเพื่อสังคม กระบวนการให้คำปรึกษา ติดตามผล

รวมถึงการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยความร่วมมือกันของชุมชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนมูลนิธิซิตี้ และยูเอ็นดีพี

โดยเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2563 กลุ่มสมาชิกชุมชนจากจังหวัดยะลาและปัตตานีจำนวน 36 คน เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนครั้งแรก ที่โรงแรมซีเอสปัตตานี

เพื่อระดมความคิดและพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจและชุมชน ภายในงานเยาวชนและสมาชิกทั้ง หญิงและชายของวิสาหกิจชุมชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน ผ่านการพัฒนาแผนธุรกิจชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม

นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ทีมงานวิสาหกิจ สิ่งทอชุมชนคนรักษ์น้ำบ่อ จ.ปัตตานี กล่าวว่า“โครงการดังกล่าวสอนให้เราวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนและครอบคลุมมากขึ้นในการวางแผน ด้วยวิธีคิดและการทำสิ่งใหม่ๆ นี้ชุมชนของเราสามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่เหมาะกับทักษะวัฒนธรรมและ วิถีชีวิต ผ่านการเรียนรู้และทดสอบแนวคิด ในการทำงานโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้กลุ่มตลาดที่ตรงเป้าหมาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้แนวคิดที่ว่าธุรกิจสามารถเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาสังคมได้ อีกด้วย”

น.ส.กาญจนา หมัดตะทวี เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “จากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาพบว่าวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จควรมีผู้นำที่เข้มแข็ง แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

โดยกลุ่มชุมชนทั้ง 5 กลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาธุรกิจที่สร้างรายได้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง อีกทั้งส่วนใหญ่ต้องการพึ่งพาตนเองและสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชนในฐานะผู้นำในวิสาหกิจ ของตน การเปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมาพัฒนาอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ชุมชนต้องให้ความสำคัญ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน