นอนดีพัฒนาการดีซูซาน เรดไลน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ระบาดวิทยา พร้อมด้วยคณะวิจัย จากโรงพยาบาลบริกแฮม และ โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซ็ตส์ สหรัฐ อเมริกา ศึกษาพฤติกรรมการนอนและผลกระทบต่อพัฒนาการของทารก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการนอนหลับของทารกอายุ 1 เดือน และ 6 เดือน รวมกัน 298 คน ผ่านอุปกรณ์แอ๊กติกราฟี สายคาดคล้องข้อเท้าเพื่อจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมถึงลักษณะและรูปแบบของวงจรการนอนหลับ จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับบันทึกของพ่อแม่ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับนิสัยการนอนของลูก และ ดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ)

พบว่าการนอนเพิ่มขึ้นเพียง 1 ชั่วโมงของเด็กแรกเกิด ช่วยลดแนวโน้มโรคอ้วนในทารกได้มากถึงร้อยละ 26 และในทางกลับกันการนอนที่น้อยละ 1 ชั่วโมงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็น โรคอ้วนมากกว่าเด็กที่นอนหลับในระยะเวลาเหมาะสมอย่างน้อยคืนละ 8-9 ชั่วโมง

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังระบุว่าไม่ใช่แค่ระยะเวลาในการนอนเท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการเด็ก ทั้งทางร่างกายและสมอง แต่คุณภาพการนอนหลับก็สำคัญไม่แพ้กัน

เพราะผลการศึกษาบ่งชี้อีกว่าจำนวนการตื่นกลางดึกยิ่งบ่อยครั้งเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคอ้วนเร็วขึ้นตั้งแต่ ช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตเลยทีเดียว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน