ปัญหาขาดแคลนบุคลากร ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจ ล้วนเป็นปัจจัยท้าทายผู้ให้บริการสาธารณสุขทั่วโลก ในการพัฒนาประสิทธิภาพดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ

ขณะเดียวกัน ผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น หันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลก

เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายข้างต้น ฟิลิปส์ได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ ที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2023

รอยัล ฟิลิปส์ บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ภายใต้แนวคิด Health Continuum การดูแลสุขภาพแบบครบวงจร

เริ่มตั้งแต่ที่บ้านด้วยความเป็นอยู่ที่ดี การป้องกันโรค ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่โรงพยาบาล กระทั่งการกลับไปดูแลรักษาสุขภาพต่อที่บ้าน ฟิลิปส์ได้นำเทคโนโลยีล้ำสมัยพร้อมข้อมูลเชิงลึกทางคลินิก และความต้องการของผู้บริโภค มานำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจร

สำนักงานใหญ่ฟิลิปส์ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบัน ฟิลิปส์เป็นผู้นำด้านรังสีวินิจฉัย (diagnostic imaging) การรักษาด้วยรังสีภาพนำวิถี (image-guided therapy) เครื่องตรวจติดตามสัญญาณชีพ (patient monitoring) และระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (health informatics)

รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล และนวัตกรรมดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน ในปี 2022 ฟิลิปส์มียอดขายกว่า 17,800 ล้านยูโร มีพนักงานกว่า 77,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

● การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
จากรายงาน Philips Future Health Index 2022 report เผยว่า ปัญหาด้านบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกๆ ของผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ หากไม่จัดการกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ภาวะหมดไฟและการขาดแคลนบุคลากรจะส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอลง ต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ด้านรังสีวิทยา มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า นักรังสีวิทยาอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

มีการคาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะขาดแคลนเจ้าหน้าที่พยาบาลถึง 13 ล้านคนภายในปี 2030 นอกจากนี้บุคลากรการแพทย์ยังต้องเผชิญกับงานค้างจากการรักษาปกติที่ถูกพักไว้ช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด ยิ่งทำให้เกิดภาวะตึงเครียดมากกว่าปกติ จากปัญหานี้จะเห็นว่าผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขได้นำระบบการทำงานอัตโนมัติที่มีเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์

ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) เป็นเทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ ช่วยลดภาระงานด้านเอกสารให้แพทย์ พยาบาล และนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์น้อยลง และมีเวลาอยู่กับผู้ป่วยมากขึ้น

นั่นหมายถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานขั้นพื้นฐานที่ให้ผลลัพธ์สูง เช่น การเปิดใช้งานระบบส่งต่อข้อมูลตรวจติดตามผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง ซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

● การเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ระบบการทำงานอัตโนมัติสามารถช่วยลดภาระงานที่มากเกินไปในแต่ละแผนกของโรงพยาบาลได้ แต่บุคลากรทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้ และการฝึกอบรมที่เหมาะสม เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยพบว่า 1 ใน 5 ของบุคลากรทางการแพทย์ลาออกจากสายงานนี้ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19

การฝึกอบรมบุคลากรใหม่ๆ อย่างเพียงพอจึงสำคัญยิ่งต่อความต่อเนื่องในการทำงาน ความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย และในอนาคต เราจะเห็นความต้องการบริการด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นด้านดิจิทัลใน วงการเฮลท์แคร์

● การปฏิบัติงานทางไกล (Remote Operations) ผ่านการทำงานร่วมกันออนไลน์ (Virtual Collaboration)
เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีด้าน เฮลท์แคร์ที่ถูกนำมาใช้งานมากขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัจจุบันได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักในวงการเฮลท์แคร์ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น

การทำงานร่วมกันแบบทางไกลยังมีประโยชน์ด้านการแพทย์อื่นๆ เช่น การดูแล ผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างระบบ Tele-ICU (เทเล- ไอซียู) ช่วยส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยวิกฤตถึงข้างเตียงผ่านการใช้เทคโนโลยีไม่ว่าสถานพยาบาลนั้นจะตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางสามารถตรวจติดตามอาการของผู้ป่วยวิกฤต (ICU) แบบทางไกล ได้สูงสุดถึง 500 เตียง เพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมบุคลากรในพื้นที่ โดยผสานเทคโนโลยีแสดงภาพและเสียง (Audio-visual technology), เทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive analytics) และการแสดงผลข้อมูล (Data visualization) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีเมื่อจำเป็น

● โซลูชั่นด้านสารสนเทศ (Informatics solutions) ที่เป็นกลางและทำงานร่วมกับหลากหลายเครื่องมือหรือระบบได้
เนื่องจากระบบสาธารณสุขเชื่อมต่อกันมากขึ้น ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันจำเป็นต้องสามารถ ‘เชื่อมต่อ’ ถึงกันได้ เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

ตามปกติโรงพยาบาลจะจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์จากหลากหลายแบรนด์ ซึ่งมักส่งผลต่อการกระจัดกระจายของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลต่อประสบการณ์ด้านสาธารณสุขที่ไม่เชื่อมต่อกัน แนวทางการแก้ปัญหาคือ การนำโซลูชั่นด้านสารสนเทศที่เป็นกลาง และสามารถทำงานร่วมกับหลากหลาย เครื่องมือหรือระบบได้มาใช้มากขึ้นในปี 2023 และในอนาคต

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และในระยะฟื้นฟู แพลตฟอร์มเชื่อมต่อเครื่องมือแพทย์แบบเป็นกลาง สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันเพื่อประมวลผลข้อมูลเชิงลึก และการแจ้งเตือนที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น และแพลตฟอร์มดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ของโรงพยาบาล รวมถึงเครื่องมือสื่อสารและความร่วมมือทางคลินิกได้อีกด้วย

ส่งผลให้บุคลากรในโรงพยาบาลสามารถเห็นภาพรวมเกี่ยวกับอาการ และปัจจัยด้านสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายได้ เมื่อการส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบและอุปกรณ์ง่ายขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการดึงข้อมูลผู้ป่วยจากไซต์และแผนกต่างๆ อีก ต่อไป

● เฮลท์แคร์กำลังย้ายไปอยู่บนคลาวด์ (Cloud)
คลาวด์เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญในการเชื่อมต่อ และบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านเฮลท์แคร์ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องมีความปลอดภัยระดับสูงและสามารถรองรับข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล

ก่อนหน้านี้การประยุกต์ใช้คลาวด์ในวงการเฮลท์แคร์ถือว่าล้าหลังมาก แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้คลาวด์ในวงการเฮลท์แคร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ได้รับการยอมรับมากขึ้น และน่าจะได้เห็นการนำคลาวด์ไปใช้ทั่วทุกมุมโลกในปี 2023 และน่าจะได้เห็นการเพิ่มขึ้นของโซลูชั่น software-as-a-service (SaaS) ที่ส่งผ่านระบบคลาวด์ตามมา

สำหรับอีก 5 เทรนด์ที่เหลือ สามารถติดตามต่อได้ในหลาก&หลายสัปดาห์หน้า

ทีมข่าวสดไอที

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน