คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

แนวโน้ม ชุมนุม – ผ่านสถานการณ์ #ม็อบ 9 มีนาคม มาแล้วมี “คำตอบ” อะไรในการเคลื่อนไหว การเมือง

เด่นชัดว่า กระบวนการเคลื่อนไหวจะดำเนินไปในลักษณะเล็กกะทัดรัด มากยิ่งขึ้น ปรากฏตัวขึ้นเร็วและอำลาจากไปอย่างรวดเร็วตามแต่ละสถานการณ์

อย่างที่เห็นกัน ณ บริเวณหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก

น.ส.เบนจา อะปัญ จาก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” มาปรากฏตัวพร้อมกับเพื่อนๆจำนวนหนึ่ง มีโทรโข่งเล็กๆ บ่งบอกเป้าหมายและวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง

เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมก็หายตัวไ

บรรดา “เกจิ” ในทางการเมืองที่ต้องการเห็น “การยกระดับ” อาจต้องผิดหวังกันเป็นทิวแถว

ความเป็นจริงที่เห็นกันในห้วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีความเด่นชัดว่า มาตรการเข้มจากรัฐบาล คือจำกัดกรอบและขอบเขตของการเคลื่อนไหว

ไม่เพียงแต่ นายอานนท์ นำภา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จะถูกกักตัว

หากนับแต่วันที่ 9 มีนาคมเป็นต้นไป เส้นทาง ของ น.ส.รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เส้นทางของ ไผ่ ดาวดิน เส้นทางของ ไมค์ ภาณุพงศ์ เส้นทางของ โตโต้ ปิยเทพ

ไม่แตกต่างไปจาก นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา

พลันที่ REDEM นำเสนอรูปการเคลื่อนไหว ของ #ม็อบ28กุมภาพันธ์ ขึ้นมา

เบื้องต้นหลายคนก็อาจจะยังงุนงง เพราะคำ ประกาศที่ว่า เป็นม็อบ “ไม่มีแกนนำ” มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะทุกม็อบล้วนจำเป็นต้องมี “แกนนำ” มิใช่หรือ

แต่การเคลื่อนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปราบ 1 ก็ไม่มีแกนนำ

ยิ่งการเคลื่อนไหวรอบที่ 2 ผ่านสถานการณ์ #ม็อบ 6 มีนาคม จากบริเวณห้าแยกลาดพร้าวไปสู่ เป้าหมายคือศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ยิ่งไม่มีแกนนำ ไม่มีเวที

แต่ทุกอย่างก็ลุล่วงไปได้โดยราบรื่น มิใช่หรือ

จากสถานการณ์ #ม็อบ 9 มีนาคม ก็เหยียบบาทก้าวเข้าสู่สถานการณ์ #ม็อบ 10 มีนาคม

แม้ว่าเมื่อวันที่ 9 มีนาคมจะเป็น “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ก็เป็นการดำเนินการอย่างจำกัดกรอบ ขอบเขต ไม่เป็นไปอย่างอึกทึกครึกโครม

เชื่อว่า#ม็อบ 10 มีนาคมที่จุฬาฯก็จะเป็นเช่นนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน