แม้คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 13/2561 จะมิได้ห้ามการใช้ออนไลน์ ในทางประชาสัมพันธ์อย่างสิ้นเชิง หากแต่พลันที่มีการแตะไปในประเด็นว่าด้วย “การหาเสียง”

ก็ก่อให้เกิด “ปฏิกิริยา” ตามมาอย่างรุนแรง กว้างขวาง

เนื้อหาในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจธรรมชาติและความ เป็นจริงในทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนอาการของ”เทคโนโลยี โฟเบีย”อย่างล้ำลึก

ไม่ว่าผู้ที่มีบทบาทในการยกร่างคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 13/2561จะเป็นใคร ดำรงภายในองคาพยพแห่ง”คสช.”ในแบบไหน แต่เนื้อหาตรงนี้ก็ประจานตัวตนของ”คสช.”ออกมาอย่างเด่นชัด

เด่นชัดว่าตรงอยู่ในความไม่รู้ เด่นชัดว่าเมื่อขาดความรู้ ก็ตกอยู่ในความกลัวอย่างชนิดขนพองสยองเกล้า

ความไม่รู้โดยพื้นฐานก็คือ ไม่รู้เรื่องพรรคการเมือง ไม่รู้เรื่องทางการเมืองในความเป็นจริง ที่ตรงเป้าที่สุดก็คือ ไม่เคยเป็นนักการเมือง

อาจจะเคยมีตำแหน่งทางการเมืองอยู่กับรัฐบาล อาจจะรอบรู้ในเรื่องของกฎหมาย แต่ไม่รู้เรื่องการเมือง ที่สำคัญก็คือไม่รู้เรื่อง การเลือกตั้ง

คนแบบนี้อาจเคยรับใช้ “นาย”ที่เป็น “นักการเมือง” คิดว่าตัวเองรู้เรื่องการเมือง

แต่ก็เป็นการรู้อย่างผิวเผิน เป็นการรู้โดยไม่เข้าใจ

จึงแยกไม่ออกระหว่างกระบวนการประชาสัมพันธ์กับกระบวนการในการหาเสียงว่าเหลื่อมซ้อนทั้งในด้านเกี่ยวข้องและแตกต่างกันอย่างไร

จากความไม่รู้นั่นเองทำให้เกิดความกลัว

และใครก็ตามที่ตกอยู่ในความกลัวก็จะเกิดอาการขนพองใน แบบสยองเกล้า หวาดระแวงไปทั่ว

หวาดระแวงแม้กระทั่งในเรื่อง”โซเชียล มีเดีย”

จึงแทนที่จะมองเรื่องการหาเสียงเป็นเรื่องดีเป็นเรื่องส่งเสริมความ เข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองอันถือได้ว่าเป็นสถาบันสำคัญในระบอบประชาธิปไตย

กลับมองเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องน่ากลัว

เมื่อกลัวในระดับขนพองสยองเกล้า จึงกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้ง และมองเห็นการเข้ามาของเทคโนโลยีเป็นเรื่องเลวร้าย

จึงต้องต่อต้าน”โซเชียล มีเดีย” ต่อต้าน”การหาเสียง”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน