หากนำเอา “ท่าที”ของแต่ละพรรคการเมืองมาศึกษาก็จะมองเห็นจุดเหมือนและความต่าง

พลังประชารัฐ กับ รวมพลังประชาชาติไทย เหมือนกัน

จุดร่วมอย่างสำคัญ คือ การเห็นด้วยกับกับนโยบายคสช.นับ แต่รัฐประหารเป็นต้นมาและการนิยมยกย่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถึงกับยืนยันว่าได้เป็นรัฐบาลแน่

คำว่าพรรครวมพลังประชาชาติไทยได้เป็นรัฐบาล ความหมายก็คือได้เป็นรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ

ท่าทีนี้ต่างจาก”ภูมิใจไทย”และ”ชาติไทยพัฒนา”

 

พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา อาจไม่วิพากษ์วิจารณ์คสช. อย่างดุเดือดรุนแรง

เมื่อเทียบกับพรรคชาติไทย หรือพรรคอนาคตใหม่

เมื่อครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สัญจรไปสุพรรณบุรีก็มี นายวราวุธ ศิลปอาชา นายประภัตร โพธสุธน มาต้อนรับ

ยิ่งเมื่อครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สัญจรไปประชุมครม.ที่บุรีรัมย์ นายเนวิน ชิดชอบ และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ยังจัดมวลชนกว่า 30,000 มาเปล่งเสียงกึกก้อง

“ลุงตู่ สู้ๆ ลุงตู่สู้ๆ” สนั่นทั้งสนามช้าง อารีนา

แต่ทุกครั้งที่มีการสอบถามถึงท่าทีของพรรคภูมิใจไทยและ พรรคชาติไทยพัฒนาถึงเรื่องนายกรัฐมนตรี

1 พวกเขายืนยัน”หัวหน้าพรรค”

ขณะเดียวกัน 1 เมื่อมีการคาดคั้นคำตอบแหลมคมเฉียบขาด มากยิ่งขึ้นคำตอบก็คือ

“ต้องดูผลการเลือกตั้ง”

ความหมายของ”ต้องดูผลการเลือกตั้ง”หมายความอย่างเด่นชัดว่าเขาจะต้องดูการตัดสินใจของประชาชน

ไปทางพรรคพลังประชารัฐ หรือไปทางพรรคเพื่อไทย

 

แม้ความโน้มเอียงของพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนาจะเอนไปทางพรรคพลังประชารัฐบ้าง เพราะนั่นคือ ตัวแทน”คสช.”

แต่อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ความสัมพันธ์ใน”อดีต”ไม่ว่าพรรค ภูมิใจไทย ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ก็อยู่กับฝ่ายชนะมาตลอด

คำถามอยู่ที่ว่าใครคือผู้ชนะใน”การเลือกตั้ง”

 

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน